ชีวิตพระลูกวัดร่ำเปิง http://maka.siam2web.com
   Main webboard   »   แมว
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ลักษณะรูปแบบการทำความเข้าใจการเห็นพระไตรลักษณ์  (Read: 675 times - Reply: 0 comments)   
จักรกริช (Admin)

Posts: 119 topics
Joined: 10/3/2552

ลักษณะรูปแบบการทำความเข้าใจการเห็นพระไตรลักษณ์
« Thread Started on 9/11/2555 8:23:00 IP : 180.183.157.134 »
 
Attached File...


ลักษณะรูปแบบการทำความเข้าใจการเห็นพระไตรลักษณ์

ภาวนาวิปัสสนานุปัสสนาญาณ  คือ  การสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่อย่างต่อเนื่องเนือง ๆ  ในร่างกายและจิตใจ โดยความไม่ลืมตัวและรู้ตัวทั่วพร้อม นการเห็นแจ้งเนืองๆ  (เรื่อยๆ) จักเห็นความวิปปลาส  3  มีลักษณะ  4  แล้วละวิปปลาส  3  (ความผิดเพี้ยน)  มีลักษณะ  4    วิปปลาส  3  ได้แก่ 

1) สัญญาวิปปลาส  (จำได้)  มีลักษณะ 4  คือ

จำรูปนามว่า นิจจังคือ  เที่ยง    =  ละ นิจจะสัญญาวิปปลาสแล้ว เป็น อนิจจังคือไม่เที่ยง

จำรูปนามว่า  สุข                     =  ละสุขะสัญญา วิปปลาสแล้ว  เป็นทุกข์ (ทุกขัง)

จำรูปนามว่า  อัตตา (ตน)          =  ละอัตตะสัญญาวิปปลาสแล้ว เป็น  อนัตตา

จำรูปนามว่าสุภะคือ งาม         =  ละสุภะสัญญาวิปปลาสแล้ว เป็น  อสุภะคือไม่งาม

            2) จิตตะวิปปลาส(รู้)   มีลักษณะ  4  คือ

รู้รูปนามว่า นิจจังคือเที่ยง        =  ละนิจจะจิตะวิปปลาสแล้วเป็น  อนิจจังคือไม่เที่ยง

รู้รูปนามว่าสุข                          =  ละสุขะจิตตะวิปปลาสแล้วเป็น  ทุกข์ (ทุกขัง)

รู้รูปนามว่าอัตตา                      =  ละอัตตจิตตะวิปปลาสแล้วเป็น  อนัตตา

รู้รูปนามว่าสุภะคืองาม             =  ละสุภจิตตะวิปปลาสแล้วเป็น  อสุภะคือไม่งาม

3) มิจฉาทิฏฐิวิปปลาส(เห็นผิดเพี้ยน)   มีลักษณะ  4  คือ

เห็นรูปนามผิดเพี้ยนว่านิจจังคือเที่ยง  =  ละนิจจทิฏฐิวิปปลาสแล้ว เป็น  อนิจจังคือไม่เที่ยง

เห็นรูปนามผิดเพี้ยนว่าสุข                  =  ละสุขทิฎฐิวิปปลาสแล้ว เป็น  ทุกข์ (ทุกขัง)

เห็นรูปนามผิดเพี้ยนว่าอัตตา              =  ละอัตตทิฏฐิวิปปลาสแล้ว เป็น  อนัตตา

เห็นรูปนามผิดเพี้ยนว่าสุภะคืองาม     =  ละสุภทิฏฐิวิปปลาสแล้ว เป็น  อสุภะคือไม่งาม

อธิบายกฎพระไตรลักษณ์ กับกฎไตรวิปปลาส

1)           อนิจจัง คือ สภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีการเปลี่ยนแปลง แปรปรวนไม่คงที่ ของรูปนาม หรือของร่างกายและจิตใจ แต่คนเราโดยมากเข้าใจว่า รูปนามร่างกายและจิตใจเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่

2)           ทุกขัง คือ สภาพไม่ทนอยู่อย่างเดิม ความรู้สึกอย่างเดิม ๆ มันสิ้นไปหมดไปเรื่อย ๆ ของรูปนาม หรือของร่างกายจิตใจ แต่คนเราโดยมากเข้าใจว่า รูปนามร่างกายจิตใจ เป็นสุข คือสิ่งที่ให้ความสุข

3)           อนัตตา คือ สภาพไม่มีใครบังคับบัญชาได้ ไม่มีใครบังคับให้อยู่ในอำนาจของตนได้หรือไม่มีตัวตนให้บังคับได้ เช่นเราจะบังคับไม่ให้เงินออกจากกระเป๋าได้ไหม ถ้าได้ได้กี่วัน อย่างนี้ทำได้ง่าย แต่เราจะบังคับบัญชาสั่งให้รูปนาม-ร่างกายจิตใจของเราหรือของคนอื่นให้อยู่ในสภาพความพอใจของเราได้ไหม แต่คนเราโดยมากเข้าใจว่า รูปนามร่างกายจิตใจอยู่ในอำนาจของตน

4)           อสุภะ คือ ไม่งาม สภาพไม่ดีไม่งามน่าขยะแขยง น่าเกลียดน่าชัง อาการเหลาะแหละโลเลเจ้าเลห์มายา เดี่ยวเป็นบุญเดี่ยวเป็นบาป ด้วยอำนาจของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้รูปนามร่างกายจิตใจเป็นอย่างนี้ (คือเป็นอสุภะ) แต่คนเราโดยมากเข้าใจว่าสุภะคืองาม น่าดู น่าชม ฯลฯ มีคนส่วนน้อย มีความเข้าใจว่า เป็นอนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา  อสุภะ

ฉะนั้นการเห็นกฎพระไตรลักษณ์ ตามเป็นจริง ตามสภาวะนั้นต้องเจริญวิปัสสนาญาณกรรมฐาน ตามหลักโพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมเป็นเครื่องหรือแนวทางตรัสรู้ เข้าไปตัดกิเลส แล้วบรรลุมรรคผลนิพพาน) มีสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น เท่านั้นส่วน ทาน  ศีล  สมาธิ  ปัญญาที่มีนอกจากโพธิปักขิยธรรม 37  เป็นธรรมเครื่องเกื้อกูลสนับสนุนในการเจริญโพธิปักขิยธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น

            ส่วนการรู้การเห็นพระไตรลักษณ์ของบุคคลโดยทั่ว ๆ ไปผู้ไม่เข้าถึงสภาวะธรรมนั้นเป็นของเทียม  เห็นในสภาวะธรรมเป็นของแท้ตามความเป็นจริง (การรู้การเห็นรูปนามทั้งภายใน (ของเรา) ภายนอกตั้งแต่อบายสัตว์  จนถึงอรูปพรหม)

 

 

 

 

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

   Main webboard   »   แมว
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 128,527 Today: 51 PageView/Month: 154

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...