ชีวิตพระลูกวัดร่ำเปิง http://maka.siam2web.com
   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   พัฒนาการของการสวดพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา   (Read: 2625 times - Reply: 0 comments)   
จักรกริช (Admin)

Posts: 119 topics
Joined: 10/3/2552

พัฒนาการของการสวดพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา
« Thread Started on 28/11/2553 21:12:00 IP : 118.172.25.148 »
 

พัฒนาการของการสวดพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา

พัฒนาการของการสวดพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา  เริ่มตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าวิปัสสี  พระองค์ได้แสดงโอวาสปาฏิโมกข์ ๖ เดือนต่อหนึ่งครั้ง แต่การบัญญัติสิกขาบทยังไม่มีการบัญญัติ   ส่วนการทำอุโบสถ  ก็ทำในที่แห่งเดียวเท่านั้น  คือในอุทยาน  เขมมฤคทายวันใกล้ราชธานี   ชื่อพันธุมดี  อันเป็นที่เสด็จประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี  ครั้งนั้นก็มีแต่การทำสังฆอุโบสถ  อย่างเดียวไม่มีการทำเป็นคณะอุโบสถ  บุคคลอุโบสถ  ปาริสุทธิอุโบสถ   อธิษฐานอุโบสถ[1] 

พัฒนาการของการสวดพระปาฏิโมกข์ สมัยพระพุทธเจ้าได้มีการบัญญัติสิกขาบทขึ้น  และมีการทำอุโบสถสวดปาฏิโมกข์ ซึ่งหมายถึง การทรงจำแล้วทำการสวดเนื้อหาในคัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาตโดยให้ภิกษุสวดในที่ประชุมสงฆ์เรียกกันว่าสงฆ์ทำอุโบสถปาฏิโมกข์หรือการสวดข้อบัญญัติทางพระวินัย  ๑๕๐  ข้อ  ในเบื้องแรก และ ๒๒๗ ข้อ ในกาลต่อมาทุก ๆ  กึ่งเดือนหรือ  ๑๕  วัน

พัฒนาการต่อมาพระพุทธองค์ได้มอบหมายการสวดปาติโมกข์ ให้กับพระเถระเป็นผู้ทำอุโบสถสังฆกรรม  ในสมัยนั้นการเพยแพร่ธรรมยังไม่มีการบันทึกตัวอักษรไว้เป็นหลักฐาน  ทางพระพุทธศาสนาการสวดปาติโมกข์ในยุคนี้จึงเป็นแบบมุขปาฐะ (คื่อการว่าปากป่าว) ครั้งต่อมาเกิดเรื่องขึ้นเรียกว่าอธิกรณ์ถึงขั้นแตกแยกเป็นสองฝ่ายในเรื่องของวินัย  ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี   เมื่อพุทธศักราช ๑๐๐  สงฆ์จึงได้มอบหมายการสวดปาติโมกข์ ให้กับพระอชิตะ  พรรษา ๑๐ เพือวินิฉัยชี้แจงความในพระวินัยให้ถูกต้อง[2] ทั้งนี้ต้องใช้ปัญาญาที่ฉานฉลาด ฉลาด หมายความว่า  ต้องมีความฉลาดทางสติปัญญา ความสามารถทางการวิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ ความจำ การอ่าน - เขียน - การคำนวณ  อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกได้กล่าวถึงเคล็ดลับแห่งการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นให้ราบรื่นไว้ว่า มนุษย์ต้องรู้จักแสดงอารมณ์โกรธกับบุคคลที่ควรโกรธ ด้วยระดับความโกรธที่เหมาะสม ถูกเวลา ถูกวัตถุประสงค์ และถูกวิธี  ซึ่งซาโลเวย์และเมเยอร์ (Peter Salovey and John Mayer ) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงเรียกการควบคุมตนเองดังกล่าวว่า  ความฉลาดทางอารมณ์  หรือ อีคิว (Emotional Intelligence ) ซาโลเวย์และเมเยอร์เป็นผู้ที่เริ่มใช้คำนี้ในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ เพื่ออธิบายมิติอีกด้านหนึ่งของความฉลาดในมนุษย์ที่มีความสำคัญเท่าเทียมกับความฉลาดทางสมองหรือ ไอคิว (Intelligence Quotient ) และเขาได้ให้คำจำกัดความของความฉลาดทางอารมณ์ว่า หมายถึงความสามารถที่จะรับรู้ เข้าใจความรู้สึก อารมณ์ และความต้องการของตนเองและผู้อื่น สามารถแยกความแตกต่างของอารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ข้อมูลนี้เป็นเครื่องชี้นำความคิด และประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่  อีกด้านหนึ่งของ IQ นี้มาจากกรรมพันธุ์ ๕๐ % อีก ๕๐% มาจากสิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดู หลักธรรมที่ช่วยเสริมสร้างให้การพัฒนาด้าน IQ[3] นี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้แก่ สุ จิ ปุ ลิ สุ คือ สุตมยปัญญา ปัญญาจากการฟัง ตีความว่า การฟัง คือ การรับสาร หรือ สาระ ทั้งปวงจากสื่อต่าง ๆ[4] จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาด  พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ได้  ดังพระบาลีที่ว่า  อนุขานามิ  ภิกฺขเว  โย  ตตฺถ  ภิกฺขุ  พยตฺโต  ปฏิพโล,  ตสฺสาเธยฺยํ  ปาติโมกฺขํ   หมายความว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บรรดาภิกษุเหล่านั้น  ภิกษุรูปใดเป็นผู้ฉลาดและสามารถ  เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของภิกษุรูปนั้น[5]

พัฒนาการของการสวดพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนาเมื่อว่าด้วยเรื่องของ หลักฐานทางพระพุทธศาสนา เราเรียกว่าพระไตรปิฎก ซึ่งถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยการท่องจำด้วยปากเปล่า จนกระทั่งราว พ.ศ. ๔๖๐ จึงมีการจารึกลงเป็น ลายลักษณ์อักษร กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาสืบทอดมาพร้อมกับพระไตรปิฎก และคัมภีร์พระปาฏิโมกข์  ที่จัดอยู่ในพระวินัยปิฎก  จากสมัยพุทธกาลจนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี พระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และถูกต้องแม่นยำที่สุด ในสมัยพุทธกาล การสวดพระปาฏิโกมข์ก็นิยมใช้ภาษาบาลี ต่อมายุคสมัยเปลี่ยนไปพระพุทธศาสนาเข้ามาเพยแพร่ในประเทศไทยจนถึงสมัยปัจจุบัน ก็มีการสวดพระปาฏิโมกข์ ในบางสำนักหรือบางวัดทางภาคเหนือก็มีการสวดพระปาฏิโมกข์แปล เป็นภาษาไทย  การสวดพระปาฏิโมกข์แบบภาษาบาลี[6] และแบบภาษาไทย ก็เป็นข้อมูลทางพระวินัย ๒๒๗ ข้อ ที่พระพุทธองค์บัญญัติ ไว้ให้พระภิกษุทั้งหลายต้องลงฟัง (บาลี) และเป็นการกล่าวทบทวนข้อบัญญัติทางพระวินัยทุก ๑๕ วัน ถ้าขาดโดยไม่มีเหตุสมควรต้องถูกปรับอาบัติ การสวดปาฏิโมกข์นี้เป็นตัวอย่างอันหนึ่งของการบังคับให้ท่องจำข้อบัญญัติทางพระวินัย

ดังนั้น พัฒนาการของการสวดพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นจากการบัญญัติพระวินัยขึ้นมาคาวแรก ๑๕๐ ข้อ ต่อมาภายหลังเป็น ๒๒๗  ข้อ ใช้สำหรับสวดภิกขุปาฏิโมกข์  และการทำหน้าทีสวดพระปาฏิโมกข์เดิม   พระพุทธเจ้าให้เป็นหน้าที่ของพระเถระเท่านั้น  แต่ถ้าพระเถระไม่สามารถสวดได้  ก็ให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถเป็นผู้สวดได้  เมือพระพุทธศาสนาเข้าสู้ประเทศไทยการสวดพระปาฏิโมกข์เดิมทีเป็นภาษาบาลี  แต่บางสำนัก หรือบางวัดในปัจจุบันก็เริ่มมีการสวดแบบภาษาไทย



[1] Website.พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท .พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค - หน้าที่ ๘-๙,๒๕๔๕.(ซีดี-รอม).ฉลาด : http://www.learntripitaka.com/index.html#.

[3] พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต, “พจนานุกรมพุทธศาสตร์  ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่  ,

 (  จ.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,  ๒๕๔๐), หน้า ๑๖๗.

[4] พระราชพรหมาจารย์  (ทอง  สิริมงฺคโล), “บททำวัตรสวดมนต์ประจำศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ  วัดร่ำเปิง ( ตโปทาราม ) พิมพ์ครั้งที่  , (  จ.เชียงใหม่ : หจก. โรงพิมพ์ช้างเผือก,  ๒๕๔๘), หน้า ๔๖.

[5]พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), “ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก พิมพ์ครั้งที่  ๕” ,      ( จ.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ศยาม,  ๒๕๔๒), หน้า ๒๐๑ – ๒๖๙.

[6]พระอาจารย์คึกฤทธ์ โสตฺถิผโล   , อริยวินัย  พิมพ์ครั้งที่ ๑๐ , (  จ.กรุงเทพมหานคร :บริษัท คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด  ๒๕๕๒), หน้า ๔๔๑ – ๔๖๗.

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 128,540 Today: 11 PageView/Month: 167

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...