ชีวิตพระลูกวัดร่ำเปิง http://maka.siam2web.com
   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   พระปาฏิโมกข์กับหลักนิติศาสตร์  (Read: 1469 times - Reply: 0 comments)   
จักรกริช (Admin)

Posts: 119 topics
Joined: 10/3/2552

พระปาฏิโมกข์กับหลักนิติศาสตร์
« Thread Started on 28/11/2553 21:06:00 IP : 118.172.25.148 »
 

พระปาฏิโมกข์กับหลักนิติศาสตร์

นิติศาสตร์ในพระไตรปิฎกนั้นกล่าวถึง "พระวินัยหรือศีล" ของพระภิกษุเป็นหลัก โดยเฉพาะพระวินัย  ๒๒๗  สิกขาบท อันมีมาในพระปาฏิโมกข์ เพราะเป็นกฎระเบียบสำหรับควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาของพระภิกษุให้เรียบร้อย ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับกฎหมายในทางโลกอันเป็นกฎที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม  พระวินัยแต่ละสิกขาบทนั้นมีการแจงแจงรายละเอียดอย่างชัดเจนว่า คำแต่ละคำที่เป็นพุทธบัญญัตินั้นมีความหมายอย่างไรได้บ้าง และชี้ชัดว่ามุ่งถึงความหมายใดเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้พระภิกษุมีความเข้าใจอย่างชัดเจนไม่คลุมเครือ ให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของพระวินัยก็คือ พระภิกษุทุกรูปจะต้องเข้าร่วมประชุมทบทวนพระวินัยทุก ๑๕ วัน เพื่อให้จำได้อย่างแม่นยำ ซึ่งต่างกับกฎหมายทางโลกที่ไม่มีระบบการศึกษาทบทวนอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ แต่ละประเทศจึงมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่รู้กฎหมาย  สิกขาบททั้ง ๒๒๗  ข้อ รวมทั้งสิกขาบทปลีกย่อยอื่นๆ นั้นเป็นพุทธบัญญัติทั้งสิ้น กล่าวคือ เมื่อมีเหตุที่ไม่เหมาะสมจากการกระทำของพระภิกษุเกิดขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะทรงเรียกประชุมสงฆ์ สอบถามเรื่องราว ตำหนิผู้กระทำความผิด แจกแจงให้ทราบว่าการกระทำนั้นไม่เหมาะสม มีโทษอย่างไร แล้วทรงบัญญัติพระวินัยขึ้น ห้ามมิให้พระภิกษุกระทำพฤติกรรมอย่างนั้นอีก พร้อมกำหนดโทษว่า หากภิกษุรูปใดฝืนไปกระทำ จะมีโทษอย่างไร ส่วนภิกษุที่เป็นเหตุต้นบัญญัตินั้นถือว่ายังไม่ต้องรับโทษ เพราะในขณะกระทำการนั้นยังไม่มีบทบัญญัติห้าม พระองค์ไม่ปรับความผิดย้อนหลัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นทีละข้อตาม   เหตุที่เกิดขึ้นนี้ ส่วนพระสาวกเป็นผู้ศึกษาและปฏิบัติตามเท่านั้น ซึ่งต่างกับการบัญญัติกฎหมายในทางโลกที่จะมีการประชุมระดมความคิดกันจากนักกฎหมายจำนวนมาก และนำเสนอเพื่ออนุมัติจากรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบก็สามารถนำกฎหมายนั้นๆ มาบังคับใช้ได้  เหตุที่สิกขาบททุกข้อเป็นพุทธบัญญัติล้วนๆ จึงทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นกรอบแห่งความประพฤติและการอยู่ร่วมกันของคณะสงฆ์นานว่า ๒,๕๐๐ ปี เป็นเสมือนหนึ่งรัฐธรรมนูญของคณะสงฆ์ ส่วนกติกาย่อยที่หมู่สงฆ์ในที่ใดที่หนึ่งกำหนดขึ้นนั้น ก็สามารถมีได้ตามความเหมาะสม ของยุคสมัยและสถานการณ์ แต่จะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพระวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเหมือนกฎหมายที่ต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญฉันนั้น  พระวินัยอันเป็นพุทธบัญญัติทำให้ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์ทั้งหมดนี้มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการสร้างเอกภาพในคณะสงฆ์มายาวนาน เพราะพระปาฏิโมกข์ คือสิกขาบทหรือพุทธบัญญัติมิใช่มติคณะสงฆ์[1]

ดังนั้นในพระพุทธศาสนามีพระปาฏิโมกข์เป็นกฎหมายและมี คำที่ใกล้เคียงกับคำว่าพระปาฏิโมกข์มากที่สุด ตรงที่สุด ก็คือคำว่า "วินัย"หรือ "ศีล" หรือถ้าเรียกเป็นข้อๆ ก็คือ สิกขาบท คำว่า วินัย หมายถึง กฎสำหรับฝึกอบรมกายวาจา (วินยนโต เจว กายวาจานํ) เพราะเป็นเครื่องป้องกันความประพฤติที่ไม่เหมาะสมทางกายและทางวาจา จึงชื่อว่ากฏ เรื่องวินัยในพระพุทธศาสนานั้นถือว่าเป็นเรื่องใหญ่และมีความสำคัญมากและมีความแตกต่างระหว่างพระวินัยกับกฎหมายดังนี้

. เหตุแห่งการบัญญัติ  พระวินัย คือ อาศัยเหตุ 10ประการในการวัด  กฎหมาย คือ จะบัญญัติขึ้นแม้ว่ายังไม่มีเหตุเกิดขึ้น

๒. มาตรการข้อบังคับ  พระวินัย คือ บัญญัติเป็นสัจธรรม  กฎหมาย คือ แก้ไขอยู่เสมอ เพื่อความเหมาะสม

๓. บทลงโทษ พระวินัย คือ พระวินัยลงโทษหนัก คือ ปาราชิก  กฎหมาย คือ ประหารชีวิต จำคุก ปรับ กักขัง ริบทรัพย์

. กระบวนการตัดสินความถูก-ผิด  พระวินัย คือ ถ้าทำผิดแม้ยังไม่ตรวจสอบใดๆเลยถือว่ากระทำผิด คือ แล้ว ปรับอาบัติ   กฎหมาย ความผิดตามกระบวนการกฎหมาย

๕. การรื้อคดี  พระวินัย คือ ไม่สามารถย้อนหลังได้  กฎหมาย คือ บางประเภทสามารถย้อนคดีได้[2]

ดังนั้น  พระวินัย คือ ข้อปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ของพระพุทธเจ้าที่ตั้งไว้  และมีโทษ  เรียกว่าอาบัติมี ๗ อย่าง แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ครุกาบัติ หมายถึงอาบัติหนัก อาบัติที่มีโทษร้ายแรง มี ๒ อย่างคือ อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส ,ลหุกาบัติ หมายถึงอาบัติเบา อาบัติที่ไม่มีโทษร้ายแรงเท่าครุกาบัติมี ๕ อย่างคืออาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฎ อาบัติทุพภาสิต    กฎหมาย คือ เพื่อปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ในสังคม วางกฎไม่ให้กระทำความผิด โทษในอาญา ๕ ประการ ๑. ประหารชีวิต,  ๒. จำคุก, ๓. กักขัง, ๔.  ปรับ ,๕. ริบทรัพย์



[2] คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, “วิชาวินัยมุข  เล่ม ๓ น.ธ.เอก ฉบับมาตรฐาน  พร้อมด้วยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ ๒๕๐๕ และ ๒๕๓๕ พิมพ์ครั้งที่  , (  จ.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง,  ๒๕๓๖), หน้า ๑ – ๒๕๔.

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 128,441 Today: 30 PageView/Month: 63

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...