ชีวิตพระลูกวัดร่ำเปิง http://maka.siam2web.com
   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   มาทำความเข้าใจคำว่า ทำบุญให้เจ้ากรรมนายเวร  (Read: 1180 times - Reply: 0 comments)   
จักรกริช (Admin)

Posts: 119 topics
Joined: 10/3/2552

มาทำความเข้าใจคำว่า ทำบุญให้เจ้ากรรมนายเวร
« Thread Started on 14/8/2553 21:52:00 IP : 118.172.33.14 »
 

คำว่า  เจ้ากรรม  นายเวร นั้น    เป็นภาษาชาวบ้าน  มีความหมายว่า สิ่งที่เลวร้าย  หรือบุคคลผู้อื่นสิ่งอื่น ทั้งที่เห็นและไม่เห็น  เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิต ความเป็นอยู่ของตน ให้ทุกข์ยาก ลำบาก ไม่ราบรื่นยุ่งยาก เหมือนมี  อุปสรรคคัดขวางความสุขความเจริญ ทำนองนี้  

             คำว่า  จ้ากรรม   นายเวร   ว่าโดยภาษาธรรมะแล้ว  มีความหมายเป็นอย่างอื่น  คือ 

            ๑.  คำว่า  เจ้า   ได้แก่  ผู้เป็นเจ้าของ  ชื่อว่า  เจ้า  

            ๒.  คำว่า  กรรม  ได้แก่เจตนา  ความจงใจ  การกระทำ ที่ทำด้วยกาย  วาจา  ใจ  เป็นบุญและเป็นบาป  ชื่อว่า  กรรม 

            ๓.  คำว่า  นาย  ได้แก่  นำไป  ผู้นำไป 

            ๔.  คำว่า  เวร  ได้แก่  ทำลายล้าง  การทำลายล้าง  ให้ผลในทางลบ  ความขัดแย้ง 

เมื่อเอาคำว่า  เจ้า   กับคำว่า  กรรม  มารวมกันแล้วเป็น  เจ้ากรรม

            คำว่า  เจ้ากรรม  มีความหมายทางธรรมว่า  “กัมมุนา   วัตตตี  โลโก”   แปลว่า  สัตว์โลก  ย่อมเป็นไป  ตามกรรม    ขยายความว่า  เราทำกรรมอันไดไว้  เป็นบุญหรือเป็นบาป   เราจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นไป    อธิบายว่า   เราทำกรรมด้วย  กาย  วาจา  ใจ  ที่เป็นบุญหรือเป็นบาป  คือเราเป็นเจ้าของกรรม   เปรียบเหมือน  หญิงชายที่แต่งงานกันแล้ว   เมื่อลูกเกิดมาใคร่ควรเป็นพ่อแม่..?  หรือคนที่ทำความสะอาดที่สาธารณะ   ผลงานที่ทำสะอาดแล้ว  ใครควรได้รับคำชม   หรือว่าเป็นผลงานของใคร..?    เมื่อกรรมที่ไปทำนั้นให้ผล ผู้เป็นเจ้าของกรรมย่อม ดีใจหรือเสียใจนั้น ก็อยู่ที่กรรมที่ทำไปนั้น  เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว

              เมื่อเอาคำว่า  นาย  กับ  เวร  มารวมกันเป็น   นายเวร   มีความหมายทางธรรมว่า  นำไปสู่ความขัดแย้ง  หรือนำไปให้ผลในการทำลายล้าง   นำไปให้ผลในด้านลบ  ดังพุทธสุภาษิต   กล่าวว่า  เวร   ระงับด้วยไม่จองเวร   คือ  ไม่นำไปสู้ความขัดแย้ง  หรือไม่นำไปเพื่อทำลายล้าง,     เมื่อเอาภาษาทางธรรมะไปใช้เป็นภาษาชาวบ้าน    ก็จะไม่เห็นช่องทางแก้ไขความหมายนั้น   หรือแก้ไขไม่ถูกจุด   หรือแก้ไขไม่สิ้นสุด 

            ฉะนั้น  เราจะเห็นได้ว่า  คำว่า  เจ้ากรรม   ทุกคนเป็นเจ้าของกรรม  คือกรรมที่ทำไปแล้วด้วย  กาย  วาจา  ใจ  คนอื่นจะรู้หรือไม่รู้  ไม่มีผลต่อกรรมที่เราทำไปแล้ว    เวลาใด   เมื่อกรรมที่เราทำไปแล้วให้ผล    ผู้ที่เป็นเจ้ากรรมก็ได้รับผลของกรรมนั้นคนเดียว    เปรียบเหมือนกินอาหาร ย่อมอิ่มแต่ผู้ที่กินเท่านั้น  หรืออาบน้ำย่อมสดชื่นสบายกาย เฉพาะผู้ที่อาบเท่านั้น  ผู้อื่นจะเห็นเรากินเราอาบก็ไม่มีผล

            คำว่า นายเวร  นั้น  ในที่นี้ ก็คือ กรรม  ที่ไม่งาม  ที่เป็นบาป  ที่เป็นความชั่ว  ที่ทำไปแล้วนั่นเอง และกรรมนั้น นำไปเพื่อทำลายล้าง นำไปเพื่อความขัดแย้ง (นำไปให้ผลด้านลบ)  ฉะนั้น คำว่า  นายเวร   เป็นชื่อของกรรมชั่วนั่นเอง 

เมื่อเรา

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 128,418 Today: 7 PageView/Month: 40

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...