ชีวิตพระลูกวัดร่ำเปิง http://maka.siam2web.com
   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   อานิสงส์การทำบุญบริจาคโลงศพ  (Read: 19710 times - Reply: 0 comments)   
จักรกริช (Admin)

Posts: 119 topics
Joined: 10/3/2552

อานิสงส์การทำบุญบริจาคโลงศพ
« Thread Started on 8/7/2553 21:02:00 IP : 118.172.37.144 »
 

อานิสงส์การทำบุญบริจาคโลงศพ

คนทั้งหลายมีความเชื่อว่า  ทำบุญบริจาคโลงศพเป็นการสะเดาะเคราะห์  ต่อชะตาสืบอายุนั้น  มันมีอานิสงส์    ตามที่ได้ยินได้ฟัง ที่เขาพูดกัน หรือสมความคาดหวังอย่างนั้น จริงหรือ อย่างไร     

ขอทบทวน ทำความเข้าใจกันใหม่   บุญเป็นชื่อของความจริง ที่เป็นเหตุให้เกิดผลเป็นความสุข ความเจริญ ทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า และให้บรรรลุถึงนิพพานเป็นที่สุด  หรือว่า บุญเป็นชื่อของความจริง เป็นชื่อของธรรมที่เป็นเหตุ  ให้กาย  วาจา  ใจ  ให้ประพฤติดีงาม  เรียกว่า สุจริต   3   ถ้าหลักธรรม หรือความจริงอันดีงามทั้งหลาย เช่น  ความ ไม่โลภ  ความไม่โกรธ   ความรอบรู้ไม่หลงงมงาย    สามอย่างนี้เป็นต้น   ตั้งอยู่ในจิตใจของใครแล้ว  ก็จะทำให้กาย  วาจา  ใจ   ของคนนั้นประพฤติแต่สุจริตกรรม  หรือทำให้กาย  วาจา  ใจ  ของคนนั้น  ทำแต่ความดีความงาม  และได้รับความนิยมชมชอบสรรเสริญ ในหมู่คนดี และเทวดา  อมนุษย์ ทั้งหลาย  

            ฉะนั้น   การให้ทานทั้งหลาย ก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง ในบุญกิริยาวัตถุ  10  อย่าง   การให้โลงศพเป็นทาน  ก็เป็นบุญอย่างหนึ่งในการให้ทานทั้งหลาย  และการให้โลงศพเป็นทาน หรือทำบุญเกี่ยวกับโลงศพ   เช่น นอนในโลง ศพ  นอนบนฝาโลงศพ  และทอดผ้าบังสุกุล   แล้วนิมนต์พระมาสวด ชักผ้าบังสุกุล เหล่านี้ คนทั้งหลายเชื่อกันว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์   ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย  ให้ออกจากร่างกาย  หรือสืบชะตาต่ออายุให้มีโชคมีชัย  มีความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าในหน้าที่การงานเหล่านี้เป็นต้น   มีข้อ วิจารณ์ว่า

            ๑.  เมื่อบริจาคโลงศพ ให้แก่ผู้ที่ตายที่ขัดสนยากไร้  อย่างนี้ เป็นบุญที่ทำด้วยความกรุณาสงสารรักใคร่  ช่วยเหลือสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน  ชื่อว่า   มีเมตตาหรือกรุณาเป็นเหตุปัจจัย  ให้เราบริจาคทาน  (ทำบุญให้ทานด้วยความมี เมตตา กรุณา)  อานิสงส์มีมากหรือน้อยนั้น ก็อยู่ที่เจตนา สติ ปัญญาของบุคคลนั้น     มีกำลังมากน้อยอย่างไร

๒.  ถ้าบริจาคโลงศพ  หรือนอนบนฝาโลงศพ  และทอดผ้าบังสุกุล แล้วนิมนต์พระมาสวด ชักผ้าบังสุกุลด้วยความคาดหวังคิดว่า เป็นการสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกจากร่างกาย   หรือต่อชะตาสืบอายุ  ให้มีโชคมีชัยมีความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าในหน้าที่การงานเหล่านี้เป็นต้น อย่างนี้   เป็นความเห็น ความเข้าใจในพิธีกรรมเพียงเท่านี้   ชื่อว่า  ยังไม่เพียงพอที่จะให้เกิดความสำเร็จความสมหวังได้   เพราะมีอานิสงส์น้อย (ทำบุญให้ทานด้วยความกลัว  ความโลภ  จึงมีอานิสงส์น้อย มีอานุภาพน้อย เปรียบเหมือนน้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ)

๓. ถ้าบริจาคโลงศพ  หรือนอนบนฝาโลงศพ  และทอดผ้าบังสุกุลแล้วนิมนต์พระมาสวดชักผ้าบังสุกุลด้วยความหวังคิดว่า  เป็นการสะเดาะเคราะห์ปัดเป่าสิ่งเลวร้ายให้ออกจากร่างกาย    หรือต่อชะตาสืบอายุ  ให้มีโชคมีชัย มีความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าในหน้าที่การงานเหล่านี้เป็นต้น   มีความคิดความเห็นอย่างนี้  แล้วก็ได้ฟังพระให้ธรรมะข้อคิดเป็นคติเตือนใจ ได้สติ  หรือเราได้สติปัญญาเกิดข้อคิดเป็นคติเตือนใจว่า  ชีวิตคนเราทั้งหลายเกิดมามีความตายเป็นที่สุด แล้วก็จักมานอนอยู่ในโลงศพ อย่างนี้    เมื่อเรามีชีวิตอยู่ได้รับความทุกข์ยากลำบาก ก็เพราะบาปกรรมชั่วทั้งหลายที่เราทำไปด้วยประมาทขาดสติปัญญานั่นเอง  

ฉะนั้น  ต่อแต่นี้ไปจักเป็นผู้ไม่ประมาท  ตั้งอยู่ในการงานอันสุจริตธรรม ทำบุญกุศลทั้งหลายให้มาก เพื่อให้เป็นที่พึ่ง และให้เป็นเหตุให้ถึงพร้อมซึ่งความเป็นมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ  นิพพานสมบัติ อย่างนี้ มีอานิสงส์มาก  ทำให้พ้นจากเคราะห์ พ้นจากอุปสัคสิ่งเลวร้าย  มีโชคมีชัยดวงชะตายืนโยงสมความคาดหวัง เพราะทำบุญแล้ว ได้ข้อคิดคติเตือนใจให้เกิดสติปัญญา ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท   (อย่างนี้เรียกว่า ทำบุญเสริมดวงให้แข็ง คือ ได้สติปัญญา เพราะว่า สติ ปัญญานี้ เป็นยอดบุญ เป็นยอดความไม่ประมาท เป็นยอดเป็นประธานในหมวดธรรมที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความสุขความเจริญทั้งชาตินี้ชาติหน้าและให้ถึงความเป็นพระอรหันต์เป็นที่สุด)

อีกอย่างการทำบุญให้ทานจะได้บุญมากหรือน้อยอย่างไรนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเปรียบเทียบไว้ ดังนี้  

๑. ชาวนา เปรียบเหมือน ทายก คือผู้ให้ทาน

๒. พันธ์พืช ที่หว่านลงในนา  เปรียบเหมือน  วัตถุปัจจัยไทยทานทั้งหลาย ที่ให้ทาน   

๓. พื้นนา เปรียบเหมือนปฏิคหก  คือผู้รับทาน  เช่นพระภิกษุ  สามเณรทั้งหลาย

๔. พันธ์พืชที่หว่านลงในพื้นนาแล้ว เจริญงอกงามขึ้น เปรียบเหมือน วัตถุปัจจัยไทยทานที่ให้ทานไปแล้วให้เกิดเป็นบุญกุศล

๕. ชาวนาเก็บเกี่ยวพืชผลิตผลที่หว่านลงในนา แล้วใช้สอยและแบ่งปันให้ผู้อื่น  เปรียบเหมือนตนเองและพวกพ้องตลอดถึงเทวดาเปรต อมนุษย์ทั้งหลายได้เสวยผลของบุญ ที่ได้ทำไปแล้วและแผ่บุญให้ผู้อื่น

เมื่อปัจจัยทั้งสาม  คือ ความฉลาดของชาวนาอย่างหนึ่ง   พันธ์พืชที่สมบูรณ์อย่างหนึ่ง    พื้นนาดีอย่างหนึ่ง      ก็ทำให้ได้ผลิตผลสมความปรารถนา ฉันใด        ถ้าทายกคือผู้ให้ มีความเข้าใจในการบำเพ็ญบุญอย่างหนึ่ง     วัตถุไทยทานบริสุทธิ์คือได้มาโดยชอบธรรมอย่างหนึ่ง     ปฎิคหกคือผู้รับทาน  เป็นผู้มีศีลกัลยาณธรรมอันดีงามอย่างหนึ่ง     บุญก็สำเร็จฉันนั้นแล

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 128,419 Today: 8 PageView/Month: 41

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...