ชีวิตพระลูกวัดร่ำเปิง http://maka.siam2web.com
   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   คลายเครียดตายแนวทางพุทธ  (Read: 1036 times - Reply: 0 comments)   
จักรกริช (Admin)

Posts: 119 topics
Joined: 10/3/2552

คลายเครียดตายแนวทางพุทธ
« Thread Started on 13/2/2553 23:05:00 IP : 118.172.1.102 »
 

          คำว่า  ความเครียด โรคเครียด ได้ยินกันบ่อย ๆ  ว่า เป็นโรคที่เกิดกับทุกคน  ทุกเพศทุกวัย ไม่เลือกชนชั้น  แม้แต่สัตว์ก็ยังเครียด     ความเครียดนี้   ถ้ามีน้อย ๆ มันเป็นประโยขน์ เพราะทำให้ตื่นตัวตื่นใจไม่ประมาท ระวังตัวอยู่เสมอ     เมื่อมีเกินพอดีของแต่ละคน  หรือเกินอำนาจการควบคุม หรือควบคุมความเครียดไม่ได้   ความเครียดก็จะกลายเป็นโรคเครียดไปเลย   อย่างที่เรารู้ ๆ กัน  ทำให้เป็นความทุกข์ยาก ลำบาก รู้ตัวก็มี ไม่รู้ตัวก็มี  ถึงขั้นเป็นบ้าไปก็มี ทำร้าย ฆ่า ตนเอง ผู้อื่นก็มี  อย่างนี้เป็นต้

          "อยากรู้ มั๊ย  ความเครียด โรคเครียด มีกี่อย่าง  อะไรบ้าง" อะไรทำให้เกิดเครียดหรือเครียดเกิดจากอะไร เครียดมีอะไรเป็นเหตุ  การรักษาโรคเครียดหรือแก้ไขด้วยวิธีอย่างไร (คนที่ไม่เครียด คือ คนที่ไม่ประสบทุกข์  คนที่พ้นจากทุกข์ คือ พระอรหันต์และคนนอนหลับ)

           หาคำตอบ เรื่องเครียด ๆ หรือ โรคเครียด  มี     อย่างได้แก่ 

๑) เครียดทางกาย   ๒) ทางใจ    ๓) ทั้งทางกายทางใจ  

                               

      (๑)  ทางกายนั้น  คืออาการเหนื่อยล้า จากการทำงาน ออกแรง  บอบช้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น หัวใจออกแรงมากในการสูบฉีดเลือด เพราะกายอ้วนไขมันมากเกิน,  กินยาสารกระตุ้นเป็นต้น

      (๒) ทางใจ นั้น คือ อาการเหนื่อยใจ  จิตใจมีความท้อแท้  กลุ้มใจ ทุกข์ใจ คิดหาคำตอบไม่ได้หรือคิดหาช่องทาง หาอุบาย หาทางออกของปัญหาไม่ได้  เช่น  หลงรักเขาข้างเดียว  หลงรักคนที่มีคู่รักแล้วหรือเขามีครอบครัวแล้ว  หรือถูกบังคับให้รักให้แต่งกับคนที่เราไม่รักหรือเกลียดชังไม่ชอบ      หมอดูทักว่า ไม่สมหวังในชีวิตหรือจะประสบทุกข์  เป็นต้น

       (๓) ทั้งทางกายและใจ เช่น ไปตรวจสุขภาพ หมอบอกว่า  เป็นโรคร้าย  มีปัญหาสุขภาพเป็นต้น   (อาการทั้ง    อย่างนี้  ภาษาธรรมพระพุทธศาสนากล่าวว่า  เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์  เมื่อพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจชอบใจ  ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ 

           ฉะนั้น   บัณฑิตผู้รู้ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า  ความเครียด โรคเครียดนี้  มันเป็นธรรมดาของชาวโลกของสัตว์โลก  และเอาเป็นโอกาสในการฝึกฝนตนให้เข้มแข็ง เพื่อเอาชนะทุกข์ข้ามพ้นจากทุกข์   ส่วนคนพาล คนผู้โง่เขลาปัญญาน้อย กล่าวว่าเป็นวิกฤตเป็นทุกข์

         เครียด โรคเครียด นี้ เกิดจากอะไรฯลฯ   เกิดจากที่ตัวเราไปเกี่ยวข้องสิ่งภายนอกตัว  หรือหลงไปเกี่ยวข้องสิ่งภายนอกตัว  หรือสิ่งภายนอกตัวเข้ามาเกี่ยวตนเอง  สรูปแล้ว กายใจ คือตัวเรา ถูกแรงบีบคั้นจาก สิ่งภายนอกตัว เกินพอดีก็ลำบากเป็นทุกข์   ภาษาธรรมทางพระพุทธศาสนา  กล่าวว่า อุปปีฬกกรรม (กรรมเบียดเบียน) เป็นกรรมอย่างหนึ่งที่ทำไปแล้ว มองไม่เห็น จะรู้ได้ด้วยปัญญาแต่มีอำนาจส่งผลเบียดเบียนบีบคั้นคน สัตว์ในโลกให้ได้รับความทุกข์  มากบ้างน้อยบ้างตามอำนาจของกรรมนั้น ๆ    ทำให้ผู้คนและสัตว์ไม่มีอิสระ  ไม่มีความเป็นส่วนตัวฯ   เราลองคิดดูว่า  ถ้าเราไม่มีอิสระ  ไม่มีความเป็นส่วนตัวทางกายทางใจ เราจะมีความรู้สึกอย่างใด จะมีความสุขไหม    แม้นอนหลับแล้วฝัน ก็ยังหลับไม่เต็มตื่น  ไม่ต้องกล่าวถึงเสียงรบกวนการหลับ   มีพุทธสุภาษิต กล่าวไว้ว่า ความสุขอื่นใดดียิ่งกว่า ความสงบไม่มี,   แม้ทางฝ่ายปกครองบ้านเมือง   ก็ยังมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลไว้ใช้ฯ

          ฉะนั้น ก็รู้ได้ว่า    เครียด โรคเครียด นี้ เกิดจากการไม่มีอิสระ ไม่มีความเป็นส่วนตัว ไม่รักษาคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวของตนเองไว้ได้   โรคเครียดนี้ จึงเกิด   แม้เราทั้งหลายควรอย่างยิ่ง ที่จักให้เกียรติ  เคารพสิทธิส่วนตัวของผู้อื่นทั้งทางกายทั้งใจ    และเป็นมิตรที่ดี ปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมชาติร่วมสถาบันเดียวกัน ร่วมโลกเดียวกัน   ด้วยความเกื้อกูลกันแล้ว  สังคมเราก็จักมีความสุขไม่มีโรคเครียดฯ  เครียด โรคเครียด นี้  รักษาหรือแก้ไขด้วยวิธีอย่างใรบ้าง โรคเครียด นี้  โดยมากแล้ว  เมื่อเราทำความสนใจศึกษาให้เข้าใจสาเหตุ  ปัจจัยสมุฏฐานของโรคเครียดถูกต้องดีแล้ว  ก็ทำการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยากิน ยาทา ยาฉีดก็หายได้ แถมยังได้บุญกุศลมีสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย      อ่านแล้ว งง  มั๊ย ?     ทีนี้ขออธิบาย

          อาการเครียดทางกายบางอย่างต้องใช้ยา ช่วยในการรักษาเบื้องต้น เพื่อการบรรเทาอาการ เช่น นอนไม่หลับหรือหลับยาก กินยาใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการโรค อย่างนี้เป็นต้น  ระวังอย่าใช้ยาเกินพอดี  คืออย่าใช้ยาเป็นที่พึ่ง  จนลืมฝึกฝนตนเป็นที่พึ่ง

          อาการโรคเครียด ทางใจ  ทั้งทางกายทางใจ  อาการอย่างนี้  มันมีจิตใจเป็นส่วนที่ ไปเกี่ยวข้องสิ่งภายใน  ภายนอกของตน  หรือสิ่งภายนอกมาเกี่ยวข้อตัวเอง  เช่น ผู้อื่นมาเกี่ยวข้อง ตัวเราไว้  ทำให้เราไม่มีอิสระ มีความลำบากทุกข์ใจ      เมื่อเป็นเช่นนี้  เราต้องให้ความสนใจ  ใส่ใจ เอาใจศึกษาเรียนรู้เรื่องจิตใจและองค์กรธรรม ทีเกิดร่วมกันในจิต  ให้เข้าใจถูกต้องดีก่อน จึงจักแก้ไขรักให้ถูกวิธีหรือถูกทาง เพราะว่าจิตใจของคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น มันมีหลายลักษณะ หรือหลายแบบอย่าง หรือหลายประเภท หลายชนิด  จิตใจบางประเภท มีองค์กรธรรมประกอบอาศัยอยู่  มีจำนวนอย่างน้อยสุด ๗ อย่าง    จิตใจบางประเภท มีองค์กรธรรมอาศัยอยู่  มีจำนวนอย่างมากสุด ๓๘ อย่าง    องค์กรธรรมที่เป็นองค์ประกอบอาศัยอยู่ในจิตใจ รวมทั้งหมด มี ๕๒ อย่าง    เหมือนแกงหรืออาหารที่อยู่ในถ้วยในหม้อ   บางหม้อบางถ้วยก็มีเครื่องปรุงน้อย     บางหม้อบางถ้วยก็มีเครื่องปรุงมาก  แล้วแต่สูตรอาหารนั้น ๆ  อาหารชนิดหนึ่ง ๆ ไม่ใช่ว่าใส่เครื่องปรุงทั้งหมดที่มีอยู่   แม้ในจิตใจเก็นช่นเดียวกันฯ

          โดยทั่ว ๆ  ไปแล้ว จิตใจของคนและสัตว์ยัง มีกิเลส คือ มีความเศร้าหมองมีความเร่าร้อนอยู่ในภายใน  จัดเป็น    ประเภท คือชั่ว  กับ ดี  หรือ บุญ กับบาป หรือเป็นคุณประโยชน์ กับโทษที่ให้ทุกข์  แล้วแต่องค์กรธรรมที่ประกอบกับจิตใจนั้น ๆ  ดังนั้นจะอธิบายวิธีการรักษาโรคเครียดตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่คนเราควรรู้อย่างยิ่ง  ดังต่อไปนี้. 

    

            สภาวธรรมพื้นฐาน มี ๔  ๑ เจตสิก   ๒ จิตใจ  ๓ รูปหรือรูปธรรม  ๔ นิพพาน

           

            ๑. เจตสิก คือสภาวธรรมพื้นฐาน เป็นชื่อของ องค์กรธรรมชาติ ที่ประกอบอาศัยอยู่ในจิตใจ (เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกันกับจิต  มีที่อาศัยอย่างเดียวกันกับจิต)  มีจำนวน  ๕๒  อย่าง  แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม  คือ  

          กลุ่มที่ ๑   มี  ๑๓  สภาวธรรมหรือองค์กรธรรมชาติ ที่เป็นฝ่ายบาป ชื่อว่า อกุศลเจตสิก  ได้แก่  

  

           ๑.โมหะ องค์กรธรรมชาติ    ที่ปิดบังความจริงไว้ ไม่ให้เรารู้เรื่องราวต่าง ๆ ตามความเป็นจริง หรือไม่ให้เรารู้ความจริง คือ ให้เราหลง โง่เขลานั่นเอง 

            ๒. อหิริกะ   องค์กรธรรมชาติ   ที่ไม่ละอายต่อทุจริต ๓  คือไม่ละอายบาปกรรมชั่วที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ เปรียบเหมือน คนที่ชอบคลุกคลีอาศัยอยู่กับสถานที่ น่าขยะแขยงสกปรก น่าเกลียดน่าชัง

            ๓.อโนตตัปปะ  องค์กรธรรมชาติ    ที่ไม่กลัวต่อทุจริต ๓ คือ ไม่กลัวบาปกรรมชั่วที่ทำด้วยกาย วาจา ใจเปรียบเหมือน คนที่หลงเข้าไปในสถานที่มีอันตราย  มีสัตว์ดร้าย อะไรจะเกิดกับเขา (ให้คิดเอาเอง) 

           ๔. อุทธัจจะ   องค์กรธรรมชาติ  ที่ฟุ้งซ่าน คือ ทำหน้าที่รับอารมณ์เรื่องราวไม่มั่นคง  เช่น สมาธิสั้น ใจลอย  ไม่สนใจกับเรื่องที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (ทำให้จิตใจโลเล)

                  

 (  ๔ อย่างนี้  มีโมหะเป็นประธาน ) 

     

            ๕. โลภะ   องค์กรธรรมชาติ   ที่มีความต้องการ และติดใจในอารมณ์ที่น่าใคร่  ๕ อย่างคือ  รูปสี  เสียง  กลิ่น รส  โผฏฐัพพะ คือ ถูกต้องสัมผัสด้วยร่างกาย

            ๖. ทิฏฐิ คือ มิจฉาทิฏฐิ  องค์กรธรรมชาติ  ที่มีความคิดความเห็นที่ผิดในเรื่องราวต่าง ๆ  มีความเข้าใจที่ผิด ๆ  ชอบสิ่งที่ผิด ๆ  เช่น  เห็นเสือเป็นหมู

            ๗.มานะ  องค์กรธรรมชาติ   ที่มีความเย่อหยิ่งถือตัว ความอวดดี  อวดด้อย ด้วยทรัพย์หรือคุณธรรม มี    อย่างคือ 

           ถ้าเราดีกว่าเขา ถือตัวว่า เราดีกว่าเขา   ถือตัวว่า เราเสมอกับเขา   ถือตัวว่า เราด้อยกว่าเขา, 

            ถ้าเราเสมอกับเขา ถือตัวว่า เราดีกว่าเขา   ถือตัวว่า เราเสมอกับเขา   ถือตัวว่า เราด้อยกว่าเขา, 

           ถ้าเราด้อยกว่าเขา ถือตัวว่า เราดีกว่าเขา   ถือตัวว่า เราเสมอกับเขา   ถือตัวว่า เราด้อยกว่าเขา, 

           เช่น คนที่มีความรู้มากกว่าเขา  แล้วเย่อหยิ่งถือตัวว่าเราเป็นผู้รู้มากกว่าผู้อื่น  หรือมีความรู้เท่าเขา  แล้วเย่อหยิ่งถือตัวว่าเราเป็นผู้รู้มากกว่าผู้อื่น  หรือมีความรู้ด้อยกว่าเขา  แล้วเย่อหยิ่งถือตัวว่าเราเป็นผู้รู้มากกว่าผู้อื่น

  ( ๓  อย่างนี้ มีโลภะ ความโลภเป็นประธาน)

                  

 

           ๘.โทสะ   องค์กรธรรมชาติ      ที่ประทุษร้ายในอารมณ์ คืออาการโกรธไม่พอใจ มีอยู่ในใจ แล้วล้นออกมาทางกาย วาจา ลุกลามเผาผลาญภายนอก (เหมือนไฟ ที่เริ่มจากการ เสียดสี  เป็นประกายไฟ  แล้วติดเชื้อลุกลามไปทั่ว) มีลักษณะ  ๑๐ อย่างได้แก่   

(๑) มีความผูกโกรธ ว่า  คนนี้-นั้น-โน้น  ได้ทำความไม่พอใจให้เรา,  

(๒) มีความผูกโกรธ ว่าคนนี้-นั้น-โน้น  กำลังทำความไม่พอใจให้เรา,    

(๓) มีความผูกโกรธ ว่าคนนี้-นั้น-โน้น  จักทำความไม่พอใจให้เราฯ 

(๔) มีความผูกโกรธ ว่า คนนี้-นั้น-โน้น ได้ทำความไม่พอใจให้พวกพ้องของเรา,  

(๕) มีความผูกโกรธ ว่าคนนี้-นั้น-โน้น กำลังทำความไม่พอใจให้พวกพ้องของเราแล้ว,   

(๖) มีความผูกโกรธ ว่าคนนี้-นั้น-โน้น จักทำความไม่พอใจให้พวกพ้องของเราฯ    

(๗) มีความผูกโกรธ ว่า  คนนี้-นั้น-โน้น ได้ทำประโยชน์ความพอใจให้คนที่เราเกลียดชัง,  

(๘) มีความผูกโกรธ ว่าคนนี้-นั้น-โน้น กำลังทำประโยชน์ความพอใจให้คนที่เราเกลียดชัง,  

(๙) มีความผูกโกรธ ว่าคนนี้-นั้น-โน้น จักทำประโยชน์ความพอใจให้คนที่เราเกลียดชังฯ  

(๑๐) มีความโกรธเกิดขึ้นโดยเหตุอื่น เช่น น้ำท่วมพัดเอาพืชผลเสียหาย  หรือตัวเราเองเดินไป แล้วเท้าก็ไป สะดุดหินเจ็บแล้วจึงโกรธ  อย่างนี้เป็นต้นฯ

 

          ๙. อิสสา  องค์กรธรรมชาติ    ที่มีความไม่พอใจในทรัพย์สมบัติ หรือคุณความดีวิชาความรู้ของผู้อื่น (คือ เห็นคนอื่นได้ดี  หรือเห็นคนอื่นจักได้ดี แล้วไม่พอใจ)

          ๑๐.มัจฉริยะ  องค์กรธรรมชาติ   ที่มีความหวงแหนในทรัพย์สมบัติ หรือคุณงามความดี  หรือ วิชาความรู้ของตน (ความตระหนี่ขี้เหนียว)

          ๑๑. กุกกุจจะ  องค์กรธรรมชาติ  ที่มีความรำคาญใจ  ในทุจริต ๓ ที่ได้ทำไปแล้ว  และ ในสุจริต  ๓   ที่ยังไม่ได้ทำ คือ เมื่อทำผิดด้วยกายวาใจไปแล้ว เสียใจภายหลัง,  หรือเมื่อมีโอกาสที่จักทำประโยชน์ แต่กลับไม่ทำ เช่น เมื่อถึงวัยเด็กควรเรียนหนังสือใฝ่หาความรู้แต่ไม่สนใจในการศึกษาหาควารู้ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วไม่มีความรู้  จึงเสียใจภายหลัง,        

                    (๔ อย่างนี้  มีโทสะเป็นประธาน )

                  

        ๑๒. ถีนะ องค์กรธรรมชาติ  ที่ทำให้จิตใจเซื่อมซึม  ท้อถอยจากอารมณ์ ( อารมณ์ มี ๖ คือ สี เสียง กลิ่น รส  กระทบกาย  ใจ)  คือ ง่วงเหงาหาวนอน ท้อถอย เฉื่อยชาในหน้าที่การงาน หรือขี้เกียจทำงาน

          ๑๓.  มิทธะ   องค์กรธรรมชาติ    ที่ทำให้เจตสิก (เจตสิก คือ องค์กรธรรมชาติที่ทำงานร่วมกันในจิตใจ) เซื่อมซึม  ท้อถอยจากอารมณ์ ( อารมณ์ มี ๖ คือ สี เสียง กลิ่น รส  กระทบกาย  ใจ)  คือ ง่วงเหงาหาวนอน    ท้อถอย เฉื่อยชาในหน้าที่การงาน หรือขี้เกียจทำงาน

             

        ๒ อย่างนี้  มี ถีนะ เป็นประธาน ขออธิบาย ถีนะ กับ มิทธะ  เปรียบเหมือนพวกโจรกลุ่มหนึ่ง  ซึ่งมีถีนะกับมิทธะ ก็เป็นโจรร่วมด้วยกัน  ถีนะ ทำหน้าที่ให้บริวารโจร เซื่อมซึมท้อถอย ในหน้าที่ฯ มิทธะ ทำหน้าที่ให้หัวหน้าโจร เซื่อมซึมท้อถอย ในหน้าที่ฯ   เมื่อจิตประเภทนี้เกิดกับผู้ใดในเวลาใด ถ้าในเวลานั้นผู้นั้นกำลังทำงานที่เสี่ยง เช่น ขับรถ เป็นต้น ที่เรารู้กันว่า ขับรถง่วงหลับใน อะไรจะเกิด )

         ๑๔. วิจิกิจฉา องค์กรธรรมชาติ ที่มีความสงสัย  ไม่ตกลงใจ ไม่แน่ใจ ตัดสินใจไม่ได้  คือ วิพากษ์วิจารณ์ ในคุณพระพุทธ  พระธรรม       พระสงฆ์ มีจริงหรือไม่, บาปบุญ มีจริงหรือไม่, นรก สวรรค์ ชาติก่อนชาติหน้ากรรมดีกรรมชั่ว  เป็นต้น มีจริงหรือไม่ ( สงสัย มี ๒ อย่าง  แท้  เช่น สงสัยในบาปบุญ คุณโทษ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ฯลฯ และ ความสงสัยเทียม เช่น ฝนจะตกหรือไม่ จะมีการแข่งกีฬาหรือไม่  เพื่อนเราจะมาตามนัดหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้น  เปรียบเหมือนคนที่เดินทางแล้วไปเจอทางแยก  ๒-๓ -๔ ทางแยก  จึงตัดสินใจไม่ถูกไม่รู้ว่าทางไหนไปสู่จุดมุ่งหมายของตน เลยอยู่แค่นั้นไม่ไปไหน รอจนคนอื่นจะเดินทางมาถึงที่แยกนั้นแล้วบอกทางไปสู่จุดมุ่งหมายของตน

 

          รวม ๑๔  อย่างนี้ เป็นองค์กรธรรมชาติ  เกิดกับจิต ที่เป็นฝ่ายบาปอย่างเดียว

 

 

 (ถ้าอยากรู้  ก็ให้อดทนอดใจ  ติดตามอ่านต่อไปฯ) 

 

          

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 128,425 Today: 14 PageView/Month: 47

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...