ชีวิตพระลูกวัดร่ำเปิง http://maka.siam2web.com
   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ศึกษาเอกสารและคูมือการปฏิบัติธรรมที่ทางวัดจัดหาให้ (รับห้องพัก)  (Read: 860 times - Reply: 0 comments)   
จักรกริช (Admin)

Posts: 119 topics
Joined: 10/3/2552

ศึกษาเอกสารและคูมือการปฏิบัติธรรมที่ทางวัดจัดหาให้ (รับห้องพัก)
« Thread Started on 28/3/2552 17:25:00 IP : 118.172.28.51 »
 

                             

                      ปญฺญา   นตฺถิ   อฌายโต.

                      ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ.

ผู้ใดไม่พินิจคิดค้นคว้า       บทอรรถถาตื้นลึกอย่านึกหวัง

สมองทรามความคิดถูกปิดบัง      ปัญญายังต้องต่ำกรรมของใคร

ก็เพราะขาดความคิดพินิจค้น        จึงเป็นคนโง่แท้แก้ไม่ไหว

ถ้าต้องการปัญญาอุตส่าห์ไป      พึงตั้งใจค้นคิดพินิจธรรม.

                   ในปัจจุบันนี้บ้านเมืองของเรากำลังอยู่ในระหว่างจุดเปลี่ยนผ่าน ซึ่งมีความสำคัญต่อความอยู่รอดปลอดภัย ความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนของผู้คนในสังคมอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติ ปัญหาร้ายๆ ต่างๆ ที่ประเทศชาติของเรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นไปในเรื่องคอร์รัปชั่น ภัยธรรมชาติ น้ำมันแพง โจรก่อการร้าย เป็นต้น  ล้วนแล้วแต่จำเป็นจะต้องอาศัยแนวทางแก้ไขที่เพื่อป็นการสร้างจิตสำนึก พฤติกรรมต่างๆ ให้เกิดความเปลี่ยนแปรงของคนในสังคม                      

             วิปัสสนากรรมฐาน เป็นเครีองมือในการทำให้คนเราเปลี่ยนแปรงพฤติกรรม  จิตสำนึกได้  เพราะ วิปัสสนากรรมฐาน  คือการพัฒนาจิตให้เกิดปัญญา  มาจากศัพท์ที่ว่า  วิ  แปลว่า แจ่มแจ้ง แตกต่าง และ วิเศษกว่าการหยั่งรู้โดยโลกวิธี     ปัสสนา แปลว่า การเห็น คือ การหยั่งรู้ด้วยปัญญา  กรรม แปลว่า การกระทำ คือ การกระทำด้วยใจอันประกอบด้วย ความเพียร สติ สัมปชัญญะ ตามวิธีการ ฐาน แปลว่า การงาน คือ สิ่งที่ตัวกระทำ ได้แก่ ใจเข้าไปกำหนดการรู้แจ้งหลักการปฏิบัติวิปัสสนาคือการ " รู้ " ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและใจตามหลัก        

               สติปัฎฐาน ๔  ได้แก่ การตั้งสติเข้าไปตามกำหนดรู้โดย ๔ ทาง คือ

๑.กายานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูกาย คือ อาการของร่างกาย เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย เป็นต้น

๒. เวทนานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางใจ เช่น ดีใจ เสียใจ เฉยๆ

๓. จิตตานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติตตามดูจิต คือ ความนึกคิดต่างๆ

. ธัมมานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติตตามดูหมวดธรรม ต่างๆ เช่น การกำหนดในสัมผัสทั้ง 6 คือ เมื่อตาเห็นรูปก็กำหนด การเห็น หูฟังเสียงก็กำหนดการได้ยิน

             ๒. นิวรณ์ 5 คือ สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี, อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง) ประกอบด้วย 
๑. กามฉันทะ = ความพอใจในกาม
, ความต้องการกามคุณ 
๒. พยาบาท = ความคิดร้าย
, ความขัดเคืองแค้นใจ 

๓. ถีนมิทธะ = ความหดหู่และเซื่องซึม 
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล 
๕. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย

         
            
 ๓ .ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของคนเรา คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต

. เวทนา ได้แก่ ระบบรับหรือรู้สึกสิ่งที่สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

๓. สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ

๔. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ

๕. วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ หลังจากแยกแยะแล้ว ขันธ์นี้ อาจเรียก "ขันธ์ ๕" เบญจขันธ์ หรือ ขันธปัญจก ก็ได้      

       

             ๔. อายตนะ ๑๒

อายตนะ ตามศัพท์แปลว่าเขต หรือแดน หมายถึงเป็นที่ต่อ ที่บรรจบ ที่ประชุมกัน ทำให้เกิดการรับรู้ในสิ่งต่างๆ แบ่งเป็น  ๖ คู่ หรือ ๑๒ ชนิด คือ
คู่ที่ ๑ จักขายตนะ (ประสาทตา) กับ รูปายตนะ (แสง สี ที่มากระทบตาให้เห็นเป็นภาพต่างๆ)
คู่ที่  โสตายตนะ
(ประสาทหู) กับ สัททายตนะ (เสียงต่างๆ)
คู่ที่ ๓ ฆานายตนะ
(ประสาทรับกลิ่น) กับ คันธายตนะ (กลิ่นต่างๆ)
คู่ที่ ๔ ชิวหายตนะ
(ประสาทรับรส) กับ รสายตนะ (รสต่างๆ)
คู่ที่ ๕ กายายตนะ
(ประสาทตามผิวกาย) กับ โผฏฐัพพายตนะ (ความเย็น ร้อน อ่อน แข็งต่างๆ ที่กระทบกาย)
คู่ที่ ๖ มนายตนะ
(จิต ซึ่งเป็นผู้สัมผัสกับความคิด) กับ ธัมมายตนะ (ความคิด ความรู้สึกต่างๆ)

             ๕.  สัมมัปปธาน ๔ คือ
(
๑) สังวรปธาน คือ การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน
(
) ปหานปธาน คือ การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
(
๓) ภาวนาปธาน คือ การเพียรให้กุศลเกิดขึ้นในตน
(
๔) อนุรักขนาปธาน คือ การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม้ให้เสื่อม

              ๖. อิทธิบาท ๔ คือ
(
๑) ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
(
) วิริยะ คือ ความเพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น
(
๓) จิตตะ คือ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ
(
๔) วิมังสา คือ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น

                ๗. พละ ๕ คือ
(
๑) สัทธา คือ ความเชื่อ
(
๒) วิริยะ คือ ความเพียร
(
๓) สติ คือ ความระลึกได้
(
๔) สมาธิ คือ ความตั้งมั่น
(
๕) ปัญญา คือ ความรอบรู้
พละทั้ง ๕ ประการนี้ จัดเป็นอินทรีย์ด้วย เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน

               ๘. โพชฌงค์ ๗ หมายถึง ธรรมที่เป็นองค์ตรัสรู้ หรือเป็นองค์ในการบรรลุธรรม มี ๗ ประการ คือ
(
๑) สติ คือ ความระลึกได้
(
๒) ธัมมวิจยะ คือ ความสอดส่องธรรม
(
๓) วิริยะ คือ ความเพียร
(
๔) ปีติ คือ ความอิ่มใจ
(
๕) ปัสสิทธิ คือ ความสงบสบายใจ
(
๖) สมาธิ คือ ความตั้งมั่น
(
๗) อุเบกขา คือ ความวางเฉย

               ๙. มรรคมี องค์ ๘ ได้แก่
(
๑) สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔
(
๒) สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริในการออกจากกาม ดำริในการไม่พยาบาท และดำริในการไม่เบียดเบียน
(
๓) สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต
(
๔) สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ
(
๕) สัมมาอาชีวะ ทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด
(
๖) สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ เพียรใน ๔ สถาน (สัมมัปปธาน ๔)
(
๗) สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔
(
๘) สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌาน ๔   
            
            สรุป  วิปัสสนากรรมฐาน   คือ การปฏิบัติธรรมให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง .........5////////

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 128,698 Today: 19 PageView/Month: 353

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...