ชีวิตพระลูกวัดร่ำเปิง http://maka.siam2web.com
   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   มาธยมิกะ  (Read: 1388 times - Reply: 0 comments)   
จักรกริช (Admin)

Posts: 119 topics
Joined: 10/3/2552

มาธยมิกะ
« Thread Started on 15/9/2552 0:56:00 IP : 118.172.39.208 »
 

        จริยศาสตร์เนื้อหาเกี่ยวกับบารมีและภูมิตามทัศนะของสำนัมาธยมิกะ

พระจักรกริช   โสภณ  

 บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

     มาธยมิกะคือกลุ่มของชาวพุทธที่ยอมรับคำสอนว่าด้วยเรื่องของความว่าง ทางสายกลาง และการอิงอาศัยกันและกันในการมีอยู่ของสรรพสิ่ง โดยบุคคลที่วางรากฐานคำสอนคือนาคารชุน

       สิ่งสมบูรณ์ เมื่อมองผ่านอวิชชาจะเห็นเป็นโลกแห่งปรากฎการณ์มีองค์ประกอบมากมายดังที่ท่านพระอัศวโฆษอุปมาไว้ว่า น้ำอันสงบในมหาสมุทรเมื่อถูกลมพัดจะปรากฏเป็นคลื่นฉันใดวิญญาณเมื่อถูอวิชชาเข้าปรุงแต่งก็ปรากฏเป็นพุทธิปัญญาอันจำกัดฉันนั้น ดินถูกปั้นให้เป็นหม้อชนิดต่างๆ ได้ฉันใด วิญญาณดวงเดียวปรากฏออกมาให้เห็นเป็นพุทธิปัญญาได้มากมายก็ฉันนั้น ตถตาในฐานะเป็นสิ่งสัมบูรณ์ อยู่เหนือสิ่งทั้งหลายทุกๆสิ่ง แต่เมื่อถูกเปื้อนด้วยอวิชชาจะสำแดงตัวออกมาเป็นตถตาปรุงแต่ง ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดโลกแห่งปรากฎการณ์ทั้งฝ่ายที่เป็นจิตวิสัยและวัตถุวิสัย
      เมื่อโพธิญาณเกิดขึ้นแก่เรา เราจะรู้แจ้งว่าเราไม่ใช่ภาวะอันจำกัด แต่เราคือภูตตถตานั่นเอง ภูตตถาตานี้แหละคืออมตธรรม พร้อมกับรู้แจ้งถึงภาวะเช่นนี้เราจะมีความสุขอันเลิศ   พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแห่งโพธิญาณได้อุบัติขึ้นในโลกนี้ เพื่อทำลายความมืดคืออวิชชา   และพระโพธิสัตว์นั้นแม้ท่านจะรู้แจ้งสิ่งที่ควรรู้แล้ว และไม่มีสิ่งใดที่ท่านจะต้องทำเพื่อตัวเองแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ยังดำเนินตามพระพุทธเจ้าคือต้องรื้อสัตว์ให้หลุดพ้นจากกิเลส จึงยังไม่ยอมเข้าถึงนิพพานจนกว่าจะทำให้สรรพสัตว์เป็นอิสระจากปวงทุกข์โดยพร้อมกัน

          มาธยมิกะแสดงหลักธรรมปฏิบัติหรือจริยศาสตร์สำหรับผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงนิพพานซึ่งเป็นความจริงขึ้นสูงสุดไว้  6  ประการ  เรียกว่า  บารมี 6  ของพระโพธิสัตว์หรือผู้จะเป็นพระโพธิสัตว์คือ

           1. ทาน  คือการให้    มีทั้ง  วัตถุทาน  และ  อภัยทาน

           2. ศิล  คือ  ความปฤติดี   โดยมุ่งผลไปเกิดในภพใหมที่ดี

           3. ขันติ    คือ  ความอดกลั้น

           4. วิริยะ  คือความเพียร   หรือ ความพยายาม

           5. ธยาน  หรือสมาธิ  คือการฝึกจิตให้ตั้งมั่นแน่วแน่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง

           6. ปัญญา  คือ  ความรู้อันบริสุทธิ์เกิดจากสมาธิ  ปัญญามี  2 คือ

                - เหตุภูตะ   คือ   ปัญญาที่เป็นเหตุให้บรรลุอธิมุกตจริต

                - ผลภูตะ  คือ  ปัญญาที่เป็นเหตุให้บรรลุโพธิสัตว์ภูมิ  เมื่อบำเพ็นต่อไปก็บรรลุถึงพุทธภูมิในที่สุด.

       และโพธิสัตว์"  ต้องเป็นผู้ปรารถนาพุทธภาวะ และตั้งใจทำงานเพื่อผู้อื่น  โดยตั้งปฎิญญา 4 ข้อ คือ 

              1. ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์                          

              2. ทำลายกิเลสตัณหาทั้งหลายให้หมดสิ้นไป                        

              3. เข้าถึงสัจจะ และสั่งสอนธรรมะนั้นแก่คนทั้งหลาย

              4. นำสัตว์ทั้งหลายให้เข้าสู่พุทธภาวะ          

        เมื่อตั้งปฏิญญาณแล้ว พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญบุญมารมีโดยลำดับ  แบ่งออกเป็นชั้นเป็นภูมิ   บารมี 10   ของพระโพธิสัตว์ คือ        

1. ทาน   ความเป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวางให้อภัยเป็นนิจ         

2. ศีล     ความประพฤติดีมุ่งทำลายความชั่วร้ายให้มากที่สุด          

3. ขันติ  มีความอดกลั้น ไม่มีโทสะ ไม่หวั่นไหว แสดง       

4. วิริยะ  เพียรพยายามและความเกียจคร้าน ทำให้เข้มแข็งเอาชนะอุปสรรค                                                              

5. วิปัสสนา  การบำเพ็ญฌานเพื่อให้เกิดปัญญาอันบริสุทธิ์  จะได้ละความเห็นแก่ตัวคน  มองทุกคนมีลักษณะเท่ากัน         

6.  ปัญญา ความรอบรู้อันเกิดจากการบำเพ็วิปัสสนา              

            7.  อุบาย     ความฉลาด และวิธีที่สามารถชักนำให้ผู้อื่นเห็นคล้อยตาม  สามรถให้สรรพ สัตว์เห็นตามธรรม และดำเนินไปตามบรรดานิพพานได้              

8.  ปณิธาน  ความตั้งใจเพื่อจะช่วยเหลือสรรพสัตว์จากทุกข์          

9.  พละ    ความพยายามอันเกิดจากเมตตา เพื่อช่วยสรรพสัตว์        

10. ญาณ    ความรู้ แต่ต่ำกว่าปัญญา

        ภูมิสูงสุด  ท่าน นาคารชุน  กล่าวแย้งทรรศนะที่ว่า   นิพพานมีอยู่โดยนำเสนอทรรศนะ  3  ประการ

               1. สิ่งที่มีอยู่จริง  เช่น  วิญญาณ   ต้องประสบทุกข์เพราะชราและมรระ  แต่นิพพานไม่เป็นอย่างนั้น   เพราะเหตุนั้น   สิ่งที่ไม่มีชราและมรณะจึงไม่สามารถกล่าวได้ว่ามี่รูปแบบแห่งความรีอยู่ใด  ๆ

                2. สิ่งที่มีอยู่จริง  เช่น  วิญญาณ   ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมาแต่พิพพานไม่ใช่สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง  เพราะเหตุนั้น  จึงไม่มีอยู่    หรือนิพพานไม่ใช้  ภาวะ

               3. สิ่งท่มีอยู่จริง  ( วิชชมานตา ,  วิชชมานสึตตะ )  จำเป็นต้องอาศัยเหตุทำให้เกิดขึ้นหรืออาศัยรากฐานเป็นเครื่องค้ำจุนให้เกิดขึ้น   แต่นิพพานไม่จำเป็นต้องอาศัยอะไร  เพราะปราศจากรากฐาน         

 

              สรุป   สำนักมาธยมิกะ  สำนักนี้มีความเห็นเป็นกลาง ๆ  โดยยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทา  หรือกฎปฏิจจสมุปบาท   เป็นมาตรฐานสำหรับตัดสินว่าอะไรจริง  อะไรไม่จริง   หมายความว่าสิ่งใดที่เป็นไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท  สิ่งนั้นเรียกว่าศูนยะ  คือว่างจากความจริง  และเป็นความรู้ขั้นสูงสุด   นิพานก็เป็นศูนยตา  การสะสมบารมีก็เป็นช่องทางหนึ่งที่เข้าสู่นิพพาน   ซึ่งเป็นภูมิสูงสุด

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 128,533 Today: 4 PageView/Month: 160

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...