ชีวิตพระลูกวัดร่ำเปิง http://maka.siam2web.com
   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่4  (Read: 6911 times - Reply: 0 comments)   
จักรกริช (Admin)

Posts: 119 topics
Joined: 10/3/2552

พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่4
« Thread Started on 26/2/2553 18:06:00 IP : 118.172.31.230 »
 

ตารางสอบ  วันที่  13  มีนาคม  2553

09.00 - 12.00    พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่

13.00 - 16.00    ศึกษางานสำคัญทางพระพุทธศาสนา

 

 

ประวัติท่านพุทธทาส

http://www.buddhadasa.org/html/life-work.html

 

*************************************************************************

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (นามเดิม: ประยุทธ์ อารยางกูร) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.อ.ปยุตฺโต" เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 12 ปี เมื่อ ปีพ.ศ. 2494 และเข้ามาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร จนสอบได้นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร และได้รับการอุปสมบทโดยเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงานทางวิชาการพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ผลงานของท่านที่เป็นที่รู้จักเช่นหนังสือ พุทธธรรม เป็นต้น ท่านได้รับการยกย่องจากทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยผลงานของท่านทำให้ท่านได้รับรางวัลและดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) [1] นอกจากนี้ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ท่านได้รับรวมมีมากกว่า 15 สถาบัน ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทยที่ได้รับการยกย่องให้ได้รับดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากที่สุดในปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2549 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปัจจุบันพระพรหมคุณาภรณ์ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดญาณเวศกวัน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
เนื้อหา
[ซ่อน]
• 1 ชาติภูมิ
• 2 การบรรพชา
• 3 งาน
• 4 สมณศักดิ์
• 5 เกียรติคุณของพระพรหมคุณาภรณ์
• 6 แรงบันดาลใจให้อยู่เป็นพระสืบอายุพระศาสนา
• 7 ประสบการณ์ในการสอน
• 8 ผลงานทางวิชาการพุทธศาสนา
• 9 ปัจจุบัน
• 10 ประวัติย่อ
• 11 อ้างอิง
• 12 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ชาติภูมิ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เกิดวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 ณ บ้านใกล้ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ฝั่งตะวันออก บริเวณตลาดศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี นามเดิมว่า ประยุทธ์ อารยางกูร เป็นบุตรคนที่ 5 จากบุตรเก้าคน[ต้องการอ้างอิง] ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร [2] ทางครอบครัวประกอบกิจการค้าขายผ้าแพร ผ้าไหม ขายของชำ และโรงสีไฟ
เมื่ออายุได้ 6 ขวบเข้าเรียนชั้นอนุบาลในโรงเรียนอนุบาลครูเฉลียวที่ตลาดศรีประจันต์ จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ จากนั้นบิดาได้พาเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนวัดปทุมคงคา โดยพักอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ เด็กชายประยุทธ์เป็นเด็กเรียนเก่ง จึงได้รับทุนเรียนดีจากกระทรวงศึกษาธิการจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น และมีความใส่ใจในการเรียนมาก ช่วงเวลาปิดเทอมกลับมาอยู่ที่บ้าน ก็สามารถสอนภาษาอังกฤษแก่น้อง ๆ ได้
[แก้] การบรรพชา
เนื่องจากเป็นเด็กสุขภาพไม่ใคร่ดีตั้งแต่เล็กจนโต จากคำบอกเล่าของญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดกล่าวว่า วัยเยาว์ของท่านจะควบคู่ไปกับการเจ็บป่วยเรื่อยมา เป็นเกือบทุกโรค เป็นต้นว่า หัวใจรั่ว ท้องเสีย ท้องอืด ต้องผ่าตัดถึงสองครั้ง หูเป็นน้ำหนวกอักเสบเข้าไปในกระดูกพรุนถึงโพรงศีรษะ แพ้อากาศ โรคปอด นิ่วในไต หลอดลมอักเสบ กล้ามเนื้อแขนอักเสบ ไวรัสเข้าตา สายเสียงอักเสบ เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองข้างซ้ายเล็กลีบ เป็นต้น จากสุขภาพที่ไม่แข็งแรงเช่นนี้ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนตามปกติ หลังจากจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทางบ้านจึงสนับสนุนให้ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านกร่าง ตำบลศรีประจันต์ ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้าน เพราะเล็งเห็นว่าการอยู่ในเพศบรรพชิตจะเอื้ออำนวยต่อการศึกษาได้มากกว่า เพราะไม่ต้องยุ่งยากเดินทางไปโรงเรียน และยังสามารถศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดได้ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้เริ่มเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2496 ก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาจำพรรษาที่ วัดพระพิเรนทร์ สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 รับเป็น นาคหลวง โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาจนกระทั่งได้รับปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 จาก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
[แก้] งาน
หลังจากสอบชุดวิชาครู พ.ม. ได้ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาถึง 10 ปี มีบทบาททางด้านการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์ โดยพยายามเชื่อมโยงความรู้ทางธรรมให้เข้ากับปัญหาสังคมร่วมสมัย ในทางด้านการบริหารเคยดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ ช่วงปี พ.ศ. 2516 และลาออกจากตำแหน่งบริหารหลังจากนั้นในสามปีต่อมา โดยทุ่มเทเวลาและกำลังกายให้กับงานด้านวิชาการ ตีพิมพ์ผลงานเป็นหนังสือและบทความออกมาอย่างแพร่หลาย ทั้งร่วมเสวนาและสัมมนาทางวิชาการ กับนักวิชาการและปัญญาชนร่วมสมัยอย่างสม่ำเสมอ หนังสือพุทธธรรม ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพชรน้ำเอกของวงการพุทธศาสนา ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ 10 กว่าแห่ง และได้รับรางวัล "การศึกษาเพื่อสันติภาพ" จากยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งท่านได้มอบเงินรางวัลทั้งหมดให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งกองทุนการศึกษาพระธรรมปิฎกเพื่อสันติภาพ พระ ป.อ. ปยุตโต ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นตามลำดับ เป็นพระเทพเวที พระธรรมปิฎก และพระพรหมคุณาภรณ์ ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ปัจจุบันพระพรหมคุณภรณ์เป็นเจ้าอาวาสวัดญานเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และดูแลสำนักสงฆ์สายใจธรรม บนเทือกเขาสำโรงดงยาง ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
[แก้] สมณศักดิ์
• พ.ศ. 2512 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี
• พ.ศ. 2516 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี
• พ.ศ. 2530 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเวที
• พ.ศ. 2536 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายก ปาพจนดิลกนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
• พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏ ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี ในมหาวโรกาสที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547
[แก้] เกียรติคุณของพระพรหมคุณาภรณ์
ตลอดชีวิตของพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านได้ใช้ความรู้พระไตรปิฎกแท้ๆ เพื่อช่วยปกป้องสังฆมณฑลในประเทศไทยหลายกรณี ไม่ว่า กรณีสันติอโศกหรือกรณีวัดพระธรรมกาย ท่านได้ช่วยชี้แจงให้คนไทยได้รับทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับพระไตรปิฎกที่ถูกต้องเอาไว้หลายครั้ง ในขณะเดียวกัน ท่านยังมีบทบาทในการชี้แนะสังคมไทยในด้านการบริหารประเทศหลายครั้ง เช่น ในหนังสือ มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย ได้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของระบบทุนนิยมเสรีในประเทศไทย และยังได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมตะวันตก หรืออเมริกา มีแง่มุมที่ไม่ควรเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศไทย ที่จะทำให้เน้นแต่พัฒนาวัตถุ ทำให้นักคิดไทยหลายคนตื่นตัวมาหาหลักพุทธธรรมเป็นแนวในการพัฒนา
[แก้] แรงบันดาลใจให้อยู่เป็นพระสืบอายุพระศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ เคยให้สัมภาษณ์ว่าแรงบันดาลใจที่ทำให้ท่านบวชเป็นสามเณรอยู่เป็นระยะเวลานานจนมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุมาตลอดเป็นเพราะได้อ่านนวนิยายอิงธรรมะของอาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ ทำให้รู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกองทัพธรรม เช่น
• ใต้ร่มกาสาวพัสตร์
• กองทัพธรรม
• อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก
[แก้] ประสบการณ์ในการสอน
• อาจารย์ที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
• บรรยายเรื่อง Buddhism and Thai Culture ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย
• บรรยายพิเศษด้านพระพุทธศาสนาที่ Swarthmore College มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย
• อาคันตุกาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
[แก้] ผลงานทางวิชาการพุทธศาสนา
• พุทธธรรม
• พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
• พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม
• สถาบันสงฆ์กับสังคมไทยในปัจจุบัน
• พจนานุกรมพุทธศาสตร์
• จารึกอโศก
• ธรรมนูญชีวิต
• มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย
• พระพุทธศาสนากับสังคมไทย
[แก้] ปัจจุบัน
• ที่ปรึกษาทางวิชาการ ประจำ มูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์
• เป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน พุทธมณฑลสาย 4 จ.นครปฐม
[แก้] ประวัติย่อ
• ชื่อ-นามสกุลจริง ประยุทธ อารยางกูร
• สำเร็จเปรียญ 9 ประโยค ขณะเป็นสามเณรและเป็น นาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระแก้ว ในพระบรมราชานุเคราะห์ เมื่อพ.ศ. 2504
• ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในวัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
• ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบัน อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


วัดญาณเวศกวัน

สถานะวัด
วัดญาณเวศกวัน เป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐ หมู่ ๓ ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
ชื่อ “วัดญาณเวศกวัน” นี้ พระพรหมคุณาภรณ์ ได้ตั้งขึ้น โดยให้มีความหมายที่แสดงถึง จุดหมายแห่งการบำเพ็ญศาสนกิจของวัด ว่ามุ่งเน้นให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า เพื่อเสริมสร้างความรู้ในพระธรรมวินัย และปฏิบัติให้เจริญธรรมเจริญปัญญา ตลอดจนบรรลุญาณสูงขึ้นไปตามลำดับ

คำว่า “วัดญาณเวศกวัน” มีความหมายโดยพยัญชนะว่า ป่าที่มีเรือนแห่งความรู้ หรือ ป่าของผู้เข้าสู่ญาณ
“วัดญาณเวศกวัน” มีความหมายโดยประสงค์ว่า วัดที่มีป่า และ เป็นที่เหมาะแก่การเข้าไป แสวงหาความรู้เจริญธรรมเจริญปัญญา

 
การตั้งวัด
(๑) ทางราชการออกหนังสืออนุญาตสร้างวัดให้แก่ นายยงยุทธ์ ธนะปุระ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๓๒
(๒) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ชื่อว่า
วัดญาณเวศกวัน ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗
(๓) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒
ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๓ งาน ๖๗ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๕๕๙๗ เลขที่ ๘๖๙๑๙ เลขที่ ๑๖๕๙๔ เลขที่ ๓๙๐๗๕ และ เลขที่ ๓๙๐๗๖ ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

 
เขตวัด
ทิศเหนือ ยาว ๑ เส้น ๑๒ วา - ศอก จดทางสาธารณะในหมู่บ้าน
ทิศใต้ ยาว ๑ เส้น ๑๗ วา - ศอก จดที่ดินราษฎรชาวบ้าน
ทิศตะวันออก ยาว ๖ เส้น ๓ วา - ศอก จดเขตบ้านเรือนชาวบ้าน
และ พุทธมณฑล
ทิศตะวันตก ยาว ๖ เส้น ๒ วา - ศอก จดทางสาธารณะในหมู่บ้าน
และ คลองสาธารณะ
ลักษณะพื้นที่ตั้งวัด และ บริเวณโดยรอบ มีต้นไม้ร่มรื่น
ถนนเข้า-ออก สะดวก
 
พระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม  เสนาสนะ และ ถาวรวัตถุ
มีเสนาสนะ และ ถาวรวัตถุ เป็นหลักฐานแล้ว คือ
(๑) กุฏิชั้นเดียวยกพื้นสูง กว้าง ๖.๐๐ เมตร ยาว ๖.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๒) กุฏิชั้นเดียวยกพื้นสูง กว้าง ๕.๓๒ เมตร ยาว ๗.๗๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๓) กุฏิรวมชั้นเดียวยกพื้นสูง กว้าง ๖.๐๐ เมตร ยาว ๑๐.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๔) กุฏิชุดชั้นเดียว มีกุฏิ ๕ หลัง ๑๓ ห้อง บนชานใหญ่ยกพื้นสูง กว้าง ๑๕.๐๐ เมตร ยาว ๓๙.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๕) โรงครัว กว้าง ๑๑.๓๐ เมตร ยาว ๙.๕๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๖) หอฉัน กว้าง ๑๒.๐๐ เมตร ยาว ๑๒.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๗) ศาลาบำเพ็ญกุศล กว้าง ๘.๐๐ เมตร ยาว ๑๒.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๘) หอระฆัง และ ถังเก็บน้ำ กว้าง ๔.๐๐ เมตร ยาว ๔.๐๐ เมตร
(๙) ห้องสุขา ๑ กว้าง ๕.๒๐ เมตร ยาว ๕.๗๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๑๐) ห้องสุขา ๒ กว้าง ๖.๒๐ เมตร ยาว ๑๔.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๑๑) ห้องสุขา ๓ กว้าง ๔.๕๐ เมตร ยาว ๕.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๑๒) อุโบสถ กว้าง ๑๕.๒๕ เมตร ยาว ๒๙.๙๕ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๑๓) พระประธานในโบสถ์ หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว
 
พระประธานในโบสถ์ มีพระนามว่า “พระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม” หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว ทำพิธีเททอง ที่โรงหล่อพระพุทธปฏิมาพรเลิศ
อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๑ ได้นำเข้าประดิษฐานในอุโบสถ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๒ ปิดทองเสร็จและสมโภช ในมงคลวารอายุครบ ๕ รอบของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อวันที่ ๑๒, ๑๗ มกราคม ๒๕๔๒ รวมค่าดำเนินการส่วนองค์ พระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม ๑๙๐,๐๐๐.๐๐ บาท และ ค่าทำ ฐานชุกชี อีก ๑๓๙,๐๐๐.๐๐ บาท
ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อย ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๑ ด้วยทุนทรัพย์ ๑๖ ล้านบาทเศษ ครั้นถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ พระการกสงฆ์ ๑๐๙ รูป ได้ประกอบสังฆกรรมถอนสีมา ต่อมาวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๔ พระการกสงฆ์ ๔๕ รูป ประกอบสังฆกรรมสมมติสีมาทำให้วัดญาณเวศกวันมีพัทธสีมาจะประกอบสังฆกรรม ตามพุทธบัญญัติได้โดยสมบูรณ์
เจ้าอาวาส
รูปที่ ๑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึง พ.ศ. ปัจจุบัน

 

 
พระสงฆ์จำพรรษา
มีพระภิกษุพำนักอยู่ประจำ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ จนถึงปีปัจจุบัน) คือ
พ.ศ. ๒๕๓๗ จำนวน ๘ รูป
พ.ศ. ๒๕๓๘ จำนวน ๗ รูป
พ.ศ. ๒๕๓๙ จำนวน ๘ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๐ จำนวน ๙ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๑ จำนวน ๑๔ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๒ จำนวน ๑๔ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๓ จำนวน ๑๕ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๔ จำนวน ๑๘ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๕ จำนวน ๑๕ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๖ จำนวน ๒๒ รูป
ปัจจุบัน มีพระภิกษุ จำนวน ๑๒ รูป

 
ศาสนกิจ
วัดญาณเวศกวัน มุ่งให้พระสงฆ์บำเพ็ญศาสนกิจ ตามหลักการของพระพุทธศาสนา คือ เล่าเรียนปริยัติ ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่พระพุทธศาสนา
ให้ปัญญา นำประชาชนสู่ธรรม

นอกจากกิจวัตรทั่วไปแล้ว ได้เน้นการฝึกอบรม โดยเฉพาะมีการเปิดสอนนวกภูมิเป็นประจำทุกปี และทุกคราวที่มีผู้อุปสมบทใหม่
ในด้านการเผยแผ่ธรรม นอกจากการสนทนา เทศนา บรรยายธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และโอกาสอันสมควรแล้ว ได้มีผู้ขอคำบรรยายธรรม และขอนำธรรมกถาไปพิมพ์เผยแพร่จำนวนมาก โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์ และทางวัดก็ได้จัดทำเทป ซีดี และพิมพ์หนังสือแจกให้เปล่า เป็นธรรมทานที่วัดเองด้วยเป็นประจำ

ส่วนทางด้านบุญกิริยาทั่วๆ ไป มีผู้ศรัทธาบำเพ็ญกุศลและทำนุบำรุงวัดประมาณ ๒๕๐ ครอบครัว หรือประมาณ ๑,๐๐๐ คน และมีประชาชน จากที่ทั่วไปทั้งใกล้และไกลจรมาทำบุญ ทั้งรายบุคคล และเป็นกลุ่มเป็นคณะอยู่เนืองๆ

  

  

ธรรมะฉบับเรียนลัด - หลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
เขียนโดย poppywin เมื่อ อาทิตย์, 03/16/2008 - 17:11. | in
• พุทธศาสนา
• e-book
• คัดลอกจากหนังสือธรรมะฉบับเรียนลัด
• พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
• หลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติธรรม
วันที่เอกสารถูกสร้าง:
16/03/2008
ที่มา:
http://www.dhammajak.net/book/dhamma1/page06.php
หลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติธรรม
 
           เท่านี้ก็เป็นอันได้หลักการแล้ว อาตมาพูดวันนี้ เป็นการรวมหลักการคร่าวๆ เท่านั้นเอง ไม่ได้เข้าเนื้อในลึกซึ้ง ต่อไปนี้ก็จะพูดถึงตัวข้อธรรมในการปฏิบัติไว้บ้าง ข้อธรรมในการปฏิบัตินี้จะเสนอไว้อย่างกว้างๆ ให้เห็นหลักการปฏิบัติธรรมแบบคลุมทุกระดับ
          หนึ่ง หลักการปฏิบัติทั่วไปตลอดสายแบบคร่าวๆ ชุดหนึ่งที่น่าจะนำมาใช้แนะนำทำกันให้มาก ก็คือ หลักมงคล ๓๘ ประการ หลักนี้มีข้อปฏิบัติตั้งแต่ต้นไปตลอด บอกวิธีดำเนินชีวิตตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นสูงสุด เริ่มตั้งแต่ อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจะ เสวนา ไม่คบพาล คบบัณฑิต ก็คือเริ่มด้วยการมีกัลยาณมิตร เข้าหลักเมื่อกี้นี้ทีเดียว พระพุทธเจ้าทรงเอามาประยุกต์แล้ว เริ่มด้วยกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นบุพนิมิตของการศึกษาข้อต้น ปูชา จ ปูชนียานํ บูชาคนที่ควรบูชา นี้คือมีทัศนคติและค่านิยมถูกต้องเกี่ยวกับบุคคล ให้ยกย่องบุคคล ด้วยความดีความงาม ไม่ใช่ยกย่องในทางผิด เป็นการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้อง ทำให้มีทิฏฐิที่ถูกต้อง
          ข้อปฏิบัติอื่น ๆ ก็จะมีไปตามลำดับจนถึง ๓๘ ประการตอนท้ายๆ ก็จะมี อริยสจฺจานทสฺสนํ การเห็นอริยสัจ นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ การทำนิพพานให้แจ้ง จนกระทั่งท้ายสุดจิตของผู้ใดถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว เป็นจิตไร้ความโศก ไม่มีธุลี ไม่ขุ่นมัว ไม่ เศร้าหมอง เป็นจิตเกษม ก็จบลงที่จิตปลอดโปร่งผ่องใส ไม่มีความทุกข์ ด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้น มงคล ๓๘ ประการนี้มีตั้งแต่ต้นจนสูงสุด จึงว่าเป็นหลักปฏิบัติธรรมหมวดหนึ่งที่มีข้อปฏิบัติตลอดสายแบบคร่าวๆ
          ต่อไป สอง หลักปฏิบัติในระดับสมถะ คราวนี้ต้องการเน้นเฉพาะจุด เมื่อกี้นี้มงคล ๓๘ ประการ เป็นหลักที่ขยายส่วนล่าง คือ ธรรมในส่วนต้นๆ มีการขยายพิสดารหน่อย แต่พอขึ้นมาถึงระดับสูงๆ แล้ว พูดแต่หัวข้อนิดๆ ทีนี้พอเราต้องการเจาะในการปฏิบัติธรรมขั้นจิตตภาวนาหรือสมถะ ท่านก็ให้หลักไว้มากมาย เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐ ประการ คือ เทคนิค ๔๐ อย่าง เช่น อนุสสติ ๑๐ มีการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ระลึกถึงคุณพระธรรม ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ ระลึกถึงจาคะ จนกระทั่งถึงกำหนดลมหายใจ แล้วยังมีการเพ่งกสิณ การบำเพ็ญอัปปมัญญาพรหมวิหาร การเจริญอสุภะ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของระดับสมถะมีกรรมฐาน ๔๐ ประการ เป็นการลงลึกไปในระดับจิตตภาวนา
          สาม หลักปฏิบัติระดับวิปัสสนา เนื้อหาสาระที่สำคัญท่านเรียกว่า ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือ วิปัสสนาภูมิ ตอนนี้ยากหน่อยแล้ว ฟังหัวข้อไว้เฉยๆ อาตมายกเอามาพูดให้ครบไว้เท่านั้นเอง ไม่ต้องถือเป็นสำคัญ วิปัสสนาภูมินั้นก็มีเรื่องขันธ์ห้า เรื่องอายตนะ ๑๒ ซึ่งสอนเรื่องนี้ทราบกันดีอยู่บ้าง ต่อไปเรื่องธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ สองเรื่องนี้ไม่คุ้นหู ต่อไปเรื่องอริยสัจจ ๔ ก็คุ้นหน่อย แล้วก็เรื่องปฏิจจสมุปบาท
ทั้งหมดนี้เป็นภูมิของวิปัสสนา เมื่อเราเรียนธรรมในพวกนี้ ก็เป็นการเรียนเกี่ยวกับวิปัสสนา
          หลักธรรมสำคัญมาก ที่จะเข้ามาสู่การพิจารณาศึกษาในขั้นนี้ก็คือเรื่องไตรลักษณ์ เมื่อปฏิบัติธรรมตามแนววิปัสสนา ปัญญาเกิดขึ้น ก็จะเห็นไตรลักษณ์ เช่น พิจารณาขันธ์ห้าไป ก็จะเห็นไตรลักษณ์ ตลอดจนถึงข้อสุดท้ายพิจารณาในหลักปฏิจจสมุปบาท ก็จะเห็นไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน เพราะปฏิจจสมุปบาทนั้นก็คือหลักแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย และสิ่งที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็คือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง แม้แต่หลักธรรมอื่นๆ ที่กล่าวถึงมาแล้ว เช่น อายตนะ ๑๒ ก็เป็นแง่ด้านต่างๆ ของเรื่องเดียวกันนี้เอง อยู่ในกระบวนการของความเป็นเหตุปัจจัยนี้ หรือไม่บางอย่างก็เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาในกระบวนการ
          ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น ก็ปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลง ทำให้มองเห็นการที่องค์ประกอบทั้งหลายมารวมกันเข้าประชุมกันเข้าเป็นองค์รวม อย่างใดอย่างหนึ่งที่สมมติเรียกว่า เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ละส่วนนั้นไม่เที่ยง คงที่ เกิดดับอยู่ตลอดเวลา คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน เรียกว่า เป็นไตรลักษณ์
          ถ้าเข้าใจชัดเจน เห็นแจ้งในไตรลักษณ์ ก็จะรู้เท่าทันโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เกิดความสว่างไสว สงบ ปลอดโปร่ง ผ่องใส เบาสบาย หายยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย มีจิตใจที่หลุดพ้นเป็นอิสระ เป็นสุขอย่างแท้จริง การเป็นอยู่ ท่าทีต่อโลกและชีวิต และการปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย จะเป็นไปด้วยปัญญา ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำและแรงผลักดันของอวิชชาและตัณหาอุปาทานอีกต่อไป เรียกว่า บรรลุผลที่หมายของวิปัสสนา ซึ่งก็คือ จุดหมายของการศึกษา หรือการปฏิบัติธรรมขั้นสุดท้ายนั่นเอง
          ในการปฏิบัติธรรมทั้งหมดนี้ มีตัวธรรมที่เป็นผู้ทำงานซึ่งอาจจะใช้ศัพท์เรียกว่าเป็น คณะทำงานในการปฏิบัติธรรม ก็ได้ เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ชุดนี้เป็นตัวทำงาน เรื่องต่างๆ ที่พูดมาก่อนนี้ เป็นตัวถูกกระทำ เช่น กรรมฐาน ๔๐ นั้น จะเป็นลมหายใจ หรืออสุภะ หรือกสิณ หรืออะไรก็ตามเป็นตัวถูกกระทำเป็นสิ่งที่เราเอามาใช้กำหนดพิจารณา หรือวิปัสสนาภูมิ เช่น ขันธ์ห้าก็เป็นตัวถูกกระทำ ถูกนำมาพิจารณาเช่นเดียวกัน
          เป็นอันว่า ตัวการปฏิบัติเอง ก็คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งถ้าพูดขึ้นมาแล้วหลายอย่างก็อาจจะคุ้นหูกันพอสมควร ในที่นี้จะไม่พูดรายละเอียด เพราะจะยืดยาวไปกันใหญ่ แต่จะแนะนำให้รู้จักไว้เท่านั้น ท่านที่ต้องการทราบรายละเอียด ก็ขอให้ไปค้นคว้าต่อ
          โพธิปักขิยธรรม แปลว่า ธรรมที่อยู่ในฝ่ายของโพธิ พูดง่ายๆ ว่า ธรรมที่เป็นพวกของโพธิ คือเกื้อหนุนการตรัสรู้ หรือช่วยสนับสนุนอริยมรรค มี ๓๗ อย่าง จัดเป็น ๗ หมวด คือ
          ๑. “สติปัฏฐาน ๔” แปลว่า การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมันไม่ใช่ตามความคิดปรุงแต่งของเรา ที่คิดให้มันเป็นหรืออยากให้มันเป็น
หลักสติปัฏฐานนี้ ก็คือ การเอาสติ มาเป็นตัวนำ เป็นตัวเด่น เป็นตัวทำงาน โดยกำกับจิตตั้งต้นแต่การรับรู้ให้อยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่จริง ในขณะนั้น ๆ ที่เรียกว่า อยู่กับขณะปัจจุบัน ไม่เลื่อนไหลล่องลอยไปในอดีต และอนาคต ที่เป็นเรื่องของการคิดปรุงแต่ง และให้สตินั้นเป็นตัวสร้างโอกาสแก่ปัญญาโดยจับสิ่งที่ได้เห็นได้ยินในขณะนั้น ๆ ให้ปัญญารู้เข้าใจตรงไปตรงมา
          สติปัฏฐานทำงานกับทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตของเราตลอดเวลานี้เอง ท่านจึงจัดแยกสติปัฏฐานออกตามประเภทของสิ่งที่ชีวิตของเราเกี่ยวข้องโดยแบ่งเป็น ๔ ข้อ คือ
          ๑.) กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันสภาพทางร่างกาย
          ๒.) เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่สุข ไม่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
          ๓.) จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันสภาพจิตใจ
          ๔.) ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันเรื่องราวทั้งหลาย ที่รู้ที่คิดที่เกิดขึ้นในใจ
          ๒. “ปธาน ๔” ปธาน แปลว่า ความเพียร การตั้งใจ ความเพียร หรือการประกอบความเพียร หลักนี้ไม่ค่อยคุ้น ท่านที่ต้องการจะเรียนและปฏิบัติให้ลึกซึ้ง สามารถเริ่มต้นจากหลักการที่กล่าวในที่นี้แล้วไปค้นคว้ารายละเอียดต่อไป หมวดที่ ๒ คือ ปธาน ๔ หมายถึง ความเพียร ๔ ประการ ได้แก่
          ๑.) สังวรปธาน ความเพียรที่จะระวัง หรือปิดกั้นอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดก็ไม่ให้เกิดขึ้น
          ๒.) ปหานปธาน ความเพียรในการละเลิกกำจัด อกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดสิ้นหายไป
          ๓.) ภาวนาปธาน ความเพียรในการฝึกอบรมทำกุศลธรรม หรือธรรมที่ดี ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
          ๔.) อนุรักขนาปธาน ความเพียรในการรักษาส่งเสริมกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
          ๓. “อิทธบาท ๔” คือ ธรรมให้ถึงความสำเร็จ หรือทางแห่งความสำเร็จ หลักนี้รู้จักกันหมดแล้ว ต้องเอามาใช้ในการปฏิบัติด้วย อย่าลืม อิทธิบาท ๔ เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดสมาธิ กล่าวคือ
          ฉันทะ (ความพอใจ ; มีใจรัก) = ถ้าเราชอบหรือพอใจในสิ่งใดแล้ว เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย
          วิริยะ (ความพากเพียร ; พากเพียรทำ) = ถ้าเราเห็นสิ่งใดเป็นสิ่งที่ท้าทายมีใจสู้ เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย
          จิตตะ (ความใฝ่ใจ ; เอาจิตฝักใฝ่) = ถ้าเรารู้สึกว่าสิ่งใดสำคัญเราจะต้องรับผิดชอบเอาใจจดจ่ออยู่ เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย
          วิมังสา (ความใคร่ครวญ ; ใช้ปัญญาสอบสวน) = ถ้าเราต้องการทดลองอะไรใจชอบตรวจสอบมันอยู่ เมื่อทำสิ่งนั้นก็เกิดสมาธิได้ง่าย
          ๔. “อินทรีย์ ๕“ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่เฉพาะแต่ละอย่าง หรือธรรมที่เป็นเจ้าการในการข่มกำราบอกุศลธรรมที่ตรงข้ามกับตน หลักนี้หลายท่านเคยได้ยิน แต่หลายท่านก็ยังไม่เคยได้ยิน เช่น ในคำพูดที่ว่าต้องมีอินทรีย์สม่ำเสมอกัน ต้องปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ คนนี้มีอินทรีย์อ่อน คนนี้มีอินทรีย์แก่กล้า ดังนี้เป็นต้น อินทรีย์ ๕ นั้น ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน
          ข้อ ๑ ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความที่จิตใจพุ่งแล่นไปหาและคล้อยไปตาม เข้าคู่กับข้อ ๕ ปัญญา ความพิจารณาไตร่ตรองมองหาความจริงให้รู้เท่าเข้าใจถึงสภาวะ ถ้าศรัทธาแรงไป ก็น้อมไปในทางที่จะเชื่อง่าย ยอมรับง่าย เชื่อดิ่งไป ตลอดจนงมงาย ถ้าเอาแต่ปัญญา ก็โน้มไปทางที่จะคิดมาก สงสัยเกินเหตุหรือด่วนปฏิเสธ ฟุ้งไปเรื่อย ไม่จับอะไรลงลึก ท่านจึงให้ปรับศรัทธากับปัญญา ให้สม่ำเสมอสมดุลกัน
          ข้อ ๒ วิริยะ คือ ความเพียร มีใจสู้ มุ่งหน้าจะทำให้ก้าวหน้าเรื่อยไป เข้าคู่กับข้อ ๔ สมาธิ คือ ความสงบของจิตใจที่แน่วแน่อยู่ที่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกอารมณ์ต่างๆ รบกวน ถ้าวิริยะแรงไปก็จะเครียดและฟุ้งซ่าน โน้มไปทางล้ำเลยเขต ถ้าเอาแต่สมาธิก็จะสงบสบาย ชวนให้ติดในความสุขจากความสงบนั้น ตลอดจนกลายเป็นเกียจคร้านเฉื่อยชาปลีกตัวออกหาความสบาย ปล่อยปละละเลยหรือไม่เผชิญภาระ ท่านจึงให้เสริมสร้างวิริยะ และสมาธิอย่างสม่ำเสมอสมดุลกัน เพื่อจะได้ประคับประคองกันไปและเป็นเครื่องอุดหนุนกันให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติ
          ส่วนข้อ ๓ สติ นั้น เป็นตัวคุมตัวเตือน ต้องใช้ในทุกกรณี เช่น เป็นเหมือนยามที่คอยบอกว่า เวลานี้ศรัทธาจะแรงไปแล้ว ปัญญาจะหย่อนไปแล้ว เวลานี้ควรเร่งวิริยะขึ้นมา เพราะทำท่าจะติดในสุขจากสมาธิเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น
          ๕. “พละ ๕” ธรรมที่เป็นกำลังในการต้านทานไม่ให้อกุศลธรรมเข้าครอบงำ ก็ได้แก่ อินทรีย์๕
นั่นแหละ แต่มาทำหน้าที่เป็นฝ่ายรับ เรียกว่า พละ ๕ หมายความว่า ธรรม ๕ อย่างนี้เมื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายรุก ไปแก้ไขกำจัดอกุศลธรรมเรียกว่าอินทรีย์ ๕ แต่ถ้าทำหน้าที่ฝ่ายรับต้านทานอกุศลธรรมไม่ให้บุกเข้ามาทำลายได้ ก็เรียกว่า เป็นพละ ๕
           ๖. “โพชฌงค์ ๗” แปลว่า องค์ของผู้ตรัสรู้ หรือองค์ประกอบของการตรัสรู้ เป็นกลุ่มธรรมสำคัญในการทำงานให้เกิดโพธิ คือ ปัญญาตรัสรู้ ซึ่งทำให้ทั้งรู้ ทั้งตื่นและทั้งเบิกบาน ได้แก่
          ๑.) สติ ความระลึกได้ เป็นตัวที่จับไว้หรือรวบรวมเอามา ซึ่งสิ่งที่ควรรู้เข้าใจ มานำเสนอให้ปัญญาตรวจตรองพิจารณาอย่างถนัดชัดเจน
          ๒.) ธรรมวิจัย ความเฟ้นธรรม หมายถึง การใช้ปัญญาสอบสวนพิจารณาสิ่งที่สติกำหนดไว้ หรือนำเสนอนั้น ให้รู้เข้าใจเห็นสาระเห็นความจริง
          ๓.) วิริยะ ความเพียร คือ ความแกล้วกล้า กระตือรือร้น รุดหน้าต่อไปในการทำงาน ให้จิตใจไม่หดหู่ ถดถอย หรือท้อแท้
          ๔.) ปีติ ความอิ่มใจ คือ ปลาบปลื้ม ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง ฟูใจ ที่เป็นไปพร้อมกับการทำงานก้าวรุดหน้าต่อไป
          ๕.) ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ เป็นความเรียบเย็น ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย เบาสบายซึ่งสืบเนื่องจากปีติ และเป็นองค์ธรรมสำคัญในการรักษาสุขภาพจิต ความเพียรพยายามทำงานการที่พ่วงมาด้วยปัสสัทธิ จะไม่ทำให้คนเป็นโรคจิตอย่างที่เป็นกันมากในหมู่คนทำงานในยุคปัจจุบัน
          ๖.) สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น คือ จิตใจแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำหนดเป็นหนึ่งเดียว อยู่กับกิจ อยู่กับเรื่องที่พิจารณา ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน
          ๗.) อุเบกขา ความวางทีเฉยดู หมายถึง ความมีใจเป็นกลาง จิตใจเรียบสม่ำเสมอ นิ่งดูไปอย่างพร้อมสบาย ในขณะที่จิตปัญญาทำงานก้าวหน้าไปเรียบรื่นตามกระบวนการของมัน
          ๗. สุดท้ายก็คือ ตัว “มรรคมีองค์ ๘” อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (ทำการชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (จิตมั่นชอบ)
          ว่าที่จริง โพธิปักขิยธรรมก็ขยายจากมรรคมีองค์ ๘ นั่นแหละ หลักสุดท้ายนี้จึงเป็นตัวรวม แต่ขยายออกไปเพื่อให้เห็นประชาชนซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ กัน เป็นข้าราชการ เป็นตำรวจ เป็นทหาร เป็นแพทย์ เป็นครู อาจารย์ เป็นพระ ฯลฯ มากมาย เมื่อพูดมาถึงโพธิปักขิยธรรมแล้ว ก็เรียกว่าจบเพราะโพธิปักขิยธรรมเป็นตัวการปฏิบัติ หรือเป็นคณะทำงาน เมื่อคณะทำงานในการปฏิบัติธรรมมาถึงแล้ว ก็ยกให้เป็นหน้าที่ของคณะทำงานนั้น ทำหน้าที่ของเขาต่อไป
          อาตมาทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำตัว เมื่อได้แนะนำตัวจนกระทั่งท่านทั้งหลายได้รู้จักคณะทำงานแล้วว่า มีใครบ้าง ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ตัว เมื่อพูดถึงตอนนี้แล้ว ก็จึงเป็นอันว่าจบ ต่อจากนี้ก็ขอให้ท่านไปทำความรู้จักกับคณะทำงาน เมื่อรู้จักกับคณะทำงานแล้ว ก็ขอให้ไปร่วมมือกับคณะทำงานนั้น หรือใช้คณะทำงานนั้นทำงานคือการปฏิบัติธรรมต่อไป หน้าที่ของอาตมาภาพก็จบลงเพียงเท่านี้ ขออนุโมทนาทุกท่านและเจริญพร

  

  

 ธรรมนูญชีวิต...พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า

 
:: ลานธรรมจักร :: » หนังสือธรรมะ
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป      

ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวทอง
 
 

เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 1812

   ตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2006, 11:42 pm
 

________________________________________
 

ธรรมนูญชีวิต
A Constitution For Living
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


บทนำ

เมื่อพูดถึงเรื่องทั่วๆ ไปเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ศาสนาทั้งหลายมีแนวปฏิบัติแตกต่างกันเป็น ๒ แบบ กล่าวคือ แบบหนึ่ง ไม่ใส่ใจเรื่องอย่างนั้นเลยโดยสิ้นเชิง มุ่งเน้นเฉพาะแต่การบรรลุจุดหมายที่สูงส่ง คือการเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า หรือเข้าถึงปรมัตถสัจจะ ส่วนอีกแบบหนึ่งก็สั่งสอนข้อปฏิบัติเกี่ยวกับชีวิตประจำวันนั้นเสียอย่างละเอียดพิสดาร โดยกำหนดแก่เราว่าจะต้องคิดหมายใคร่ทำอะไรๆ แค่ไหนอย่างไร จะต้องกินอาหารอะไร จะต้องสวมใส่เสื้อผ้าแบบไหน ศาสนาสองแบบนี้น่าจะเป็นสุดโต่ง ๒ ด้าน

พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนสายกลางหรือสอนความพอดี ในเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ คำสอนในพระพุทธศาสนาดำเนินสายกลาง ระหว่างการเพิกเฉยไม่ใส่ใจเสียเลยต่อเรื่องที่จะต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน กับการตราบทบัญญัติเป็นกฎข้อบังคับที่เคร่งตึงตายตัว พระพุทธศาสนาสอนแนวทางความประพฤติตามหลักสัจธรรมที่เป็นอกาลิโก ว่าด้วยประโยชน์สุขที่พึงได้ อันเกิดจากการอยู่ร่วมสัมพันธ์กันโดยใช้ปัญญาด้วยเมตตากรุณา และพร้อมกันนั้นก็มุ่งให้บรรลุถึงอิสรภาพทางจิตปัญญาที่เป็นจุดหมายสูงสุดถึงขั้นที่ทำให้อยู่ในโลกได้โดยไม่ติดโลกหรืออยู่เหนือโลก

เนื้อหาในหนังสือนี้ได้รวบรวมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั้งหลาย ซึ่งเป็นคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา (ยุคแรก) สายเถรวาท ที่ทุกวันนี้ยังใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และถือปฏิบัติกันอยู่ ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำสอนนี้มีอายุเกินกว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว แต่มิได้คร่ำคร่าล้าสมัยแต่ประการใด ในสังคมปัจจุบันยุคถือหลักความเสมอภาค ที่แบบแผนความประพฤติต่างๆ ตามที่ถือสืบๆ กันมาแต่เดิม ได้ถูกล้มล้างลงไป หรือถูกตั้งข้อสงสัยไปหมด และทั้งๆ ที่มีแนวคิดภูมิปัญญาชนิดที่ว่า “รู้แจ้งเจนจบ” แพร่สะพัดไป แต่ชีวิตของผู้คนกลับสับสนวุ่นวายยิ่งกว่ายุคสมัยใดๆ ในสภาพเช่นนี้ คำสอนของพระพุทธศาสนาที่ย้อนยุคสมัยมีมาแต่ครั้งที่อะไรๆ ยังเป็นไปตามธรรมดาสามัญกว่านี้อย่างมากมายนั้น จะเป็นเสมือนกระแสอากาศสดชื่นบริสุทธิ์ที่ผ่านเข้ามาในห้องที่มีผู้คนแออัด บาทีอาจจะถึงเวลาแล้วที่เราจะหวนกลับไปหาคุณค่าที่ว่าเก่าๆ แต่คงทนดีกว่า

เมื่อการดำเนินชีวิตและกิจการต่างๆ ยึดหลักความเอื้ออาทรเห็นอกเห็นใจกัน มากกว่าจะมุ่งหาผลประโยชน์ให้แก่ตน ก็จะเห็นผลปรากฏว่า ชีวิตและกิจการเหล่านั้นมิใช่จะเลวร้ายอย่างที่เราเคยคิด และที่แท้แล้วมันจะช่วยให้ชีวิตของเราโปร่งโล่งเบาสบายขึ้นด้วย ลองนำแนวคิดของคนสมัยนี้จำนวนมากที่มองสังคมเป็นสนามชิงผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กับคำสอนง่ายๆ ว่าด้วย “การปฏิบัติต่อกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง” หน้า ๖๒ มาเทียบกันดูซิว่าเป็นอย่างไร

คนปัจจุบันจำนวนมากมองชีวิตทุกวงการเป็นการต่อสู้ระหว่างผลประโยชน์ที่ขัดกัน เกิดเป็นฝ่ายนายจ้างกับลูกจ้าง รัฐบาลกับราษฎร คนมีกับคนจน และแม้แต่หญิงกับชาย หรือลูกกับพ่อแม่ เมื่อคนถือเอาทรัพย์และอำนาจเป็นจุดหมายของชีวิต สังคมก็กลายเป็นสนามต่อสู้ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวที่ขัดกัน เราก็เลยต้องเที่ยวหาจริยธรรมสำหรับมาปกป้องผลประโยชน์เหล่านั้น นี่คือ “จริยธรรมเชิงลบ” กล่าวคือ สังคมยึดหลักผลประโยชน์แบบเห็นแก่ตัว โดยถือ “สิทธิของแต่ละคนที่จะแสวงหาความสุข” แล้วเราก็เลยต้องหาจริยธรรมดังเช่น “สิทธิมนุษยชน” มาคอยกีดกั้นกันและกันไว้ ไม่ให้คนมาเชือดคอหอยกัน ในระหว่างที่กำลังวิ่งหาความสุขนั้น

หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็น “จริยธรรมเชิงบวก” ประโยชน์สุขคือจุดหมาย หาใช่ทรัพย์และอำนาจไม่ พระพุทธศาสนาถือว่า สังคมเป็นสื่อกลาง ที่ช่วยให้ทุกคนมีโอกาสอันเท่าเทียมกันที่จะพัฒนาตนเอง และเข้าถึงประโยชน์สุขได้มากที่สุด และนำเอาจริยธรรมมาใช้เพื่อเกื้อหนุนจุดหมายที่กล่าวนี้

คำสอนที่แสดงไว้ในหนังสือนี้ ยึดถือตามหลักธรรมที่เป็นความจริงอันไม่จำกัดกาล กล่าวคือ กรุณา เมตตา สามัคคี สังคหะ และปัญญา คนสมัยใหม่ที่มองธรรมชาติคนว่าเห็นแก่ตัว อาจจะรู้สึกว่าคำสอนเหล่านี้เป็นเพียงอุดมคติ แต่ก็มิใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หลักธรรมเหล่านี้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง อย่างไรก็ตาม จะต้องระลึกไว้ว่า คำสอนเหล่านี้เก่าแก่ถึง ๒,๕๐๐ ปีแล้ว อาจจะมีอยู่ ๒-๓ อย่างที่จะต้องนำมาแปลความหมายให้เข้ากับสภาพปัจจุบัน แต่ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า คำสอนเหล่านั้นง่ายพอที่ผู้อ่านจะกลั่นกรองความหมายเอามาใช้ได้ด้วยตนเอง ขอให้หลักธรรมดังกล่าวอำนวยประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน เหมือนดังที่ได้อำนวยประโยชน์แก่ชาวพุทธจำนวนมากมายทั่วทั้งโลก

 

********************************************************************

พระภิกษุติช นัท ฮันห์

ทึก ญอท หั่ญ หรือ ติช นัท ฮันห์ (อังกฤษ:Thich Nhat Hanh,เวียดนาม:Thích Nh?t H?nh) เป็นพระเวียดนามในพุทธศาสนานิกายเซนชื่อ ติช นัท ฮันห์ เป็นฉายา "ติช" เป็นคำใช้เรียกพระ ส่วน "นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมที่มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง(One Action)" ท่านเป็นพระมหาเถระนิกายเซน กวี และผู้สนับสนุนในเรื่องสันติภาพ ท่านมีงานเขียนเผยแผ่ตีพิมพ์ภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักปฏิบัติธรรมชาวตะวันตก

ประวัติ

เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2469 ที่จังหวัดกวงสี ในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ท่านมีชื่อเดิมว่า เหงียน ซวน เบ๋า พ.ศ. 2485 อายุได้ 16 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดตื่อฮิ้ว และได้อุปสมบทเป็นพระในเวลาต่อมา ช่วงแรกที่อยู่ในเวียดนาม ท่านได้พยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาด้วยการเขียบบทความ แต่กลับได้รับการต่อต้านจากผู้นำองค์กรชาวพุทธและรัฐบาลเป็นอย่างมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 ท่านได้รับทุนไปศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ ณ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา ท่านได้ศึกษาที่นั่นเป็นเวลา 1 ปี แม้จะได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียต่อ แต่ท่านก็ตัดสินใจเดินทางกลับเวียดนาม เพื่อต่อตั้ง รร.ยุวชนรับใช้สังคม และทำงานด้านความร่วมมือระหว่างพระพุทธศาสนานิกายมหายานและเถรวาทในเวียดนาม ท่านพยายามสอนแนวคิดเรื่องพระพุทธศาสนาเพื่อการรับใช้สังคม เพื่อรักษาความเสียหายจากสงคราม ท่านพยายามพัฒนาวงการสงฆ์ด้วยการสอนและเขียนในสถาบันพระพุทธศาสนาชั้นสูง ภารกิจที่สำคัญของท่านคือ ก่อตั้ง "คณะเทียบหิน" ในปี พ.ศ. 2509 ในปี พ.ศ. 2510 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ได้เสนอชื่อของท่านให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่รู้จักใครเป็นการส่วนตัวอีกที่จะมีคุณค่าพอสำหรับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ นอกเหนือไปจากพระผู้มีเมตตาจากเวียดนามผู้นี้"

[แก้] หมู่บ้านพลัม

แต่ การรณรงค์เพื่อหยุดการสนับสนุนสงครามของท่านทำให้รัฐบาลเวียดนาม ที่ถึงแม้จะรวมประเทศได้แล้วก็ตาม ไม่ยอมรับท่าน และปฏิเสธการเข้าประเทศของท่าน ทำให้ท่านต้องลี้ภัยอย่างเป็นทางการที่ประเทศฝรั่งเศส และก่อตั้ง "หมู่บ้านพลัม" เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชุมชนสังฆะของท่าน ขึ้นที่เมืองเบอร์โดซ ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2525 ในระยะแรกเป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย ก่อนจะเริ่มมีนักบวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 หมู่บ้านพลัมปัจจุบันได้จัดการอบรมภาวนาเกี่ยวกับการเจริญสติทั้งในยุโรปและ อเมริกาเหนือให้แก่บุคคลทั่วไป ปัจจุบันมีนักบวชกว่าห้าร้อยคน จากกว่ายี่สิบประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในหมู่บ้านพลัม และที่อื่นๆได้แก่ Green Mountain Dharma Center รัฐเวอร์มอนต์ และ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา และที่วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และ วัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

*************************************************************************

 ศาสตราจารย์เชอร์บาตสกี (Th. Stcherbatsky) ชาวรัสเซียได้กล่าวไว้ว่า วิชา Logic ได้พัฒนาอยู่ในอินเดีย ในฐานะเป็นสาขาหนึ่งของตรรกศาสตร์ โดยมีชื่อว่า "นยายศาสตร์"

     ทีนี้ขอให้เรามาพินิจพิจารณากันให้ละเอียด ยิ่งไปกว่านั้นอีกว่า วิชาตรรกศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับอะไร? และเราจะให้เหตุผลตามแบบตรรกศาสตร์ได้อย่างไร?

 

     สมมุติ ว่าท่านเดินไปตามถนนในฤดูหนาวหลังจากที่หิมะตกหนักใหม่ๆ พระอาทิตย์เมื่อไม่มีเมฆ หรืออะไรบัง ย่อมส่องแสงออกมาอย่างแจ่มจ้า ท่านจะสังเกตเห็นการส่องแสงของดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ ทั้งนี้ก็เพราะตาของท่านถูกการสะท้อนแสงของดวงอาทิตย์ที่หิมะทำให้เคือง นัยน์ตา ท่านอาจจะเกิดความคิดขึ้นมาว่าหิมะได้สะท้อนแสงของดวงอาทิตย์ได้มาก น้อยแค่ไหนเพียงไร ถ้าพูดกลับคำเสีย ความคิดนี้อาจเรียกร้องความสนใจของท่าน ให้มีต่อความขาวของหิมะได้ ท่านจะต้องยอมรับทันทีว่าความขาวของหิมะ เป็นเหตุผลอันสำคัญที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงอย่างแรงกล้า มายังนัยน์ตาของท่าน

 
************************************************************************
ศาสตราจารย์ริส เดวิดส์ และภรรย
พระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในตะวันตกเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฎให้ทราบชัดเจน มีแต่ข้อเขียนของนายคลีเมนต์ แห่งเมืองอะเล็กซานเดรีย เคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเข้าว่า

?บรรดาชาวอินเดียที่เชื่อถือปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่างพากันสรรเสริญพระพุทธเจ้าต่าง ๆ นานา และให้เกียรติยกย่องว่าเป็นเทพเจ้า?

ชาวตะวันตกเริ่มรู้จักพุทธศาสนาครั้งแรกเมื่อมีการแปลคัมภีร์พุทธศาสนาเป็น ภาษาตะวันตก ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ คโซมา เดอโกรอส , ชเลกินต์เวต , และรอคฮิลล์ ต่อมาก็มี ไอเดนเบอร์ก , ปิล , ชิลเดอรส์ และฟอสบอลล์ เป็นผู้บุกเบิกที่สำคัญ ภายหลังได้มีแมกซ์ มุลเลอร์ เป็นผู้ก่อตั้ง และดำเนินการจัดพิมพ์หนังชุด คัมภีร์ศักดิ์ของตะวันออก

และที่สำคัญ คือ ศาสตราจารย์ริส เดวิดส์ และภรรยา ได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีพร้อมอรรถกถาออกมาเป็นอักษรโรมัน ต่อจากนั้น ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ ได้ดำเนินการในนาม ?สมาคมบาลีปกรณ์? (Pali Text Society) เข้าเผยแพร่พุทธศาสนาสู่สายตาตะวันตก ทำให้ชาวตะวันตกได้รู้จัก กับพุทธศาสนามากขึ้น

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ได้เขียนหนังสือชื่อ ประทีปแห่งทวีปเอเซีย (Light of Asia) ได้รับการจัดพิมพ์อย่างแพร่หลาย หนังสือ เล่มนี้ได้มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พุทธศาสนาในตะวันตก ชาวตะวันตกได้รู้จักพุทธศาสนาจากหนังสือเล่มนี้ ปัจจุบันนี้หนังสือประทีปแห่งเอเซียเคยตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษกว่า๖๐ ครั้ง และในสหรัฐอเมริกาไม่ต่ำกว่า ๘๐ ครั้ง

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ พุทธสมาคมแห่งประเทศอังกฤษตั้งขึ้นแทนที่พุทธสมาคมสำหรับบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์ นายและนางคริสมาสฮัมเฟรย์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศอังกฤษ และด้วยความอุปถัมภ์ของสมาคมนี้ได้มีพระภิกษุสงฆ์หลายรูปเข้าไปสอนธรรมะใน ประเทศอังกฤษ

ท่านอานาคาริกธรรมปาลแห่งศรีลังกา ผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ เกิดมีความคิดเห็นจะสร้างพุทธวิหารขึ้นในกรุงลอนดอน เลยเริ่มทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ความใฝ่ฝันของท่านเป็นจริงขึ้นมาเมื่อวักพระพุทธศาสนาตั้งขึ้นสำเร็จใน พ.ศ. ๒๔๙๗ ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสมาคมมหาโพธิ์ และได้ท่านศรัทธาติสสะแห่งศรีลังกาเป็นเจ้าอาวาส

ในขณะเดียวกัน งานแปลพระคัมภีร์ภาษาบาลีก็รุดเร่งไปเป็นอันมาก ภายหลังที่ได้ตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ขึ้น โดยศาสตราจารย์รีส เดวิดส์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เพื่อส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลี โดยพิมพ์พระคัมภีร์ และอรรถกถาเหล่านั้น และโดยพิมพ์งานอื่น ๆ ประกอบการศึกษาภาษาบาลี นางสาวไอ ฮอร์เนอร์ ผู้อุทิศชีวิตให้กับงานแปลพระคัมภีร์ภาษาบาลีออกมาเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยเพื่อนร่วมงานทั้งหลาย เป็นผู้รับช่วงงานอันประเสริฐนี้ต่อจากนายและนางริส เดวิดส์

โดยที่ประเทศอังกฤษมีความสัมพันธ์กับประเทศศรีลังกา ในฐานะที่ศรีลังกาเคยเป็นอาณานิคมของตนมาก่อน อิทธิพลของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจึงมีมากในประเทศอังกฤษ และในระยะตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นต้นมาได้มีพระภิกษุชาวตะวันตกที่ได้รับการอบรมศึกษามาจากประเทศไทย เช่น พระภิกษุสุเมโธ ชาวอเมริกัน เป็นต้น ได้ไปสร้างวัดเถรวาทขึ้นที่เมืองชิตเฮอสต์ และเฮมสเต็ด เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายนี้

อย่างไรก็ดี พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษมีหลายแบบหลายนิกาย คือมีทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานแบบต่าง ๆ เช่นแบบธิเบต แบบจีน และญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังมีองค์การพุทธศาสนาอีกหลายแห่ง ซึ่งไม่แยกนิกาย

 

**********************************************************************

ชีวิตและผลงานของ คริตมาส อัมฟรียส์ 

( Christmas Humphreys )

ประวัติย่อของ ( Christmas Humphreys )

                      Christmas Humphreys   เกิดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปี 1901 (พ . ศ 2444) ในครอบครัวที่มีชื่อเสียงทางด้านกฎหมายมาเป็นเวลาหลายกว่าสองศตวรรษที่มีชื่อว่า  TRAVERS CHRISTMAS ที่กรุงลอนดอน  ในวัยเด็กเขามีชื่อว่า TOBY แต่คนในครอบครัวและเพื่อนๆ จะเรียกว่า TOBY Humphreys   หลังจากเขาได้เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย CAMBRIDGE  เขาก็มาทำงานในวงการกฎหมาย ที่พ่อเขาทำงานอยู่ เขาได้ฉายาว่า ผู้พิภาคสาที่สุภาพ  หลังจากเขาเป็นทนายความไม่นานเขาก็เป็น  Senior Prosecution  Counsel ดุจบิดาของเขา ต่อมาเขาก็เป็นตุลาการศาล โอลด์ บายเล่ย์  เขาถูกขนานนามว่า เป็นพุทธอุปาสก นักปรัชญา นักเขียน อาจารย์ และเป็นผู้ก่อตั้งพุทธสมาคมที่กรุงลอนดอน 

เหตุที่หันมาสนใจพระพุทธศาสนา 

                  เมื่อเขาอายุได้ 17 ปี เขาได้ชื้อหนังสือธรรมเล่มหนึ่งชื่อว่า  Buddha and the Gospel of Buddhism (พระพุทธเจ้า และคำสอนตามแนวทางพุทธศาสนา)   โดย Ananda Coomaraswamy หลังจากเขาได้อ่านหนังสือเล่มนั้น เขาก็ได้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมากมกะ โดยไม่ได้นับถือพุทธสาสนาเถรวาท หรือ มหายาน แต่นับถือมั่นคงในพุทธศาสนาของโลก “ World of Buddhism”

                 จากนั้นเขาก็ทุมเททั้งกายและใจให้พุทธศาสนา ช่วงศตวรรษที่ 19 พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักกันในแวดวงของผู้ที่เป็นพหุสูตเท่านั้น ที่นำเสนอโดย   Edwin Arnold    ในหนังสือชุด  

The light of Asia   และมาในช่วงปี 1905 ได้มีการนำปฏิบัติธรรมเป็นครั้งทำอิดนำโดยท่าน J.R. pain อดีตทหารผ่านสึกที่ประเทศพม้า คำสอนตามแนวพุทธองค์นั้นทำให้เขาได้คำตอบอันวิเศษต่อคำถามที่คนเรามักตั้งคำถามกันมาหลายชั่วอายุคน

             Christmas Humphreys   ได้พบกับคู่ชีวิตของเขาตอนเขาอายุ 21 ปี ที่มี ชื่อว่า  Aileen Faulkner หรือ Puck  ภรรยาของเขาเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องปรัชญา ศาสนา ทั้งคู่ร่วมกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี  

 

ผลงานบางส่วนของ ( Christmas Humphreys )

                Christmas Humphreys   นับได้ว่าเป็นชาวพุทธที่เป็นพุทธทาส ที่แท้จริง อายุเพียง 23 ปีเท่านั้นก็สามารถตั้ง “พุทธสมาคม” ในกรุงลอนดอนได้ ปัจจุบันนี้ได้กายเป็นองค์กรพุทธที่ใหญ่ที่สุดในองค์กรพุทธทั้งหลายของยุโรป  เขาได้พบกับบุคคลที่สำคัญในวงการพุทธศาสนามากมายเช่น  DAISETZ SUZUKI นักปราชญ์พุทธนิกาย ZEN และเขาเคยมาประชุมพุทธศาสนานา ๆ ชาติที่ประเทศไทย ในปี ค. ศ 1975 ทั้งสองผัวเมียได้นำเอาหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ไปเผยแพร่ในตะวันตกในช่วงสงคามโลกด้วย  Christmas Humphreys   นั้นมีความรอบรู้ทางพุทธศาสนามาก ซึ่งมีพื้นถานมาจากการแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาจากภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาบาลี สันสกฤต จีน ทิเบต และญี่ปุ่น  

                        Christmas Humphreys นอกจากจะมีผลงานที่เป็นการทำงานให้แก่พุทธศาสนาเช่น การตั้งพุทธสมาคม และงานเผยแพร่พุทธศาสนาแล้ว เขายังมีงานเขียนหนังสือพระพุทธศาสนาเผยแพร่พุทธธรรมจำนวน 13 เล่ม  หนังสือทุกเล่มเป็นหนังสือที่อ่านง่าย เข้าใจในพุทธธรรมเป็นอย่างดี เล่มสุดท้ายชื่อ The Buddhist way of  Life พิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) ในปี  พ.ศ.2488 เขาได้เสนอหลัก “หลักการพระพุทธศาสนา 12 ข้อ  Twelve Principles แก่ชาวพุทธทั่วโลก

 

หลัก 12 ประการตามแนวทางพระพุทะศาสนา  (Twelve Principles)มีดังนี้

 

1.            การนำตัวเองไปสู่ความหลุดพ้น เป็นหน้าที่ที่ควรทำตอนที่ยังมีโอกาสของทุก ๆ คน  เปรียบเหมือนบุคคลใดหนึ่ง ที่ถูกยิงด้วยลูกศรที่มีพิษ บุคคลดั่งกล่าวควรที่จะรีบถอด เอาลูกศรออกจากตน ดีกว่าที่จะเสียเวลาไปถามว่าใครเป็นคนยิง ยิงมาไกลเท่าไร ใครเป็นคนทำลูกศรนั้น มันยังมีโอกาสที่จะทำให้เราบรรลุถึงสัจธรรมได้ ถ้าเราลงมือปฏิบัติตามแนวทางแห่งมรรค เพราะฉะนั้นเราพึ่งมาศึกษาชีวิตตามที่มันเป็นจริง ตามแนวทางที่ถูกต้อง และประสบการในชีวิตของตน  

2.            สัจธรรมของ สังสารวัฏ ข้อแรกก็คือกฎแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือความไม่เที่ยงแท้แน่นอนนั้นเอง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มันปรากฏขึ้นมา นับจากเม็ดโมเลกุลเล็ก ๆ จนถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด จากความคิดที่เล็กน้อย จนถึงความคิดอันกว้างขวาง มีอำนาจเป็นจอมราชันก็ตาม ล้วนตั้งอยู่ในกฎของการวนเวียนอันเดียวกัน โดยการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปในที่สุด ชีวิตเป็นกระบวรการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในตัวของมันเอง และแสดงออกมาในรูปแบบใหม่อยู่เสมอ “ชีวิตเป็นดั่งสะพาน ข้ามที่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย” ชีวิตเป็นเพียงแต่กระบวรการไหลเข้าไหลออกเท่านั้น ดังนั้น หากบุคคลผู้ใดก็ตามที่ยึดติดในสารีระ ร่างกายแล้ว ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นใหญ่สักเพียงใด เขาก็ย่อมที่จะเป็นทุกข์เพราะไม่เห็นตามความเป็นจริง  

3.            จิตวิญญาณก็ยังตกอยู่ในกฎแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าเทียมกัน  ในชีวิตของมนุษย์ของพวกเราไม่มีสิ่งใดที่เป็นสิ่งที่เป็นชั่วนิรันดร และไม่มีการเปลี่ยนแปลงไป มีเพียงความไม่มีตัวตนที่เป็นปรมัตถะสัจจะเท่านั้น   ที่เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทั้งปวง ทุกๆสังสารวัฏ  รวมทั้งมนุษย์พวกเราก็รวมอยู่ในสัจธรรมอย่างชัดเจน ไม่มีมนุษย์คนใดที่เป็นเจ้าของของการไหลออกไหลเข้าของการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าที่ประกายแสงแวววาวเพราะอาศัยกระแสไฟฟ้าฉันนั้น  

4.             จักวารอันกว้างใหญ่นี้ เป็นกระบวรการทางธรรมชาติ ที่แสดงออกมา ทุกๆอย่างย่อมที่จะเกิดมาได้ เพราะเหตุและปัจจัยนั้นฉันใด  จิตสำนึกและบุคลิก ของคนเราเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยความนึกคิด และการกระทำ ที่เราสั่งสมมาจนเป็นนิสัยทั้งหมดของเรา  กรรม มีความหมายว่าการกระทำ ที่มีผลตอบสนอง ได้รวมเอาทุก ๆ ประกฎการและมวนมนุษย์พวกเรา  การที่เราเกิดมา และจะเป็นอะไรไปในอนาคต และจุดหมายปลายทางที่เราจะไป ก็ล้วนแต่เกิดเพราะกรรม โดยการคิดและการทำที่ถูกต้อง คนเราจะสามารถที่จะนำจิตวิญญาณของตนให้พ้นได้  การศึกษาและเข้าใจในชีวิตของตนจะทำให้บุคคลนั้นหลุดพ้นออกจากการเกิด กระบวรการที่กล่าวมานั้นมันรวมเอาช่วงเวลาทั้งหมด รวมทั้งชีวิตหลังความตายจากโลกมนุษย์  ไปประโลกเบื้องหน้า  แต่ทุกๆรูปแบบของชีวิต สูงสุดนั้นจะกร้าวไปสู่การตรัสรู้   

5.            ชีวิตมีหนึ่งเดียวและแบ่งแยกไม่ได้ ถึงแม้ว่ารูปแบบต่างๆ ของชีวิตนี้จะมีมากมาย มีการเปลี่ยนแปลงตลอดไป และตายได้ทุกเมื่อ  มีความจริงที่ไม่ตายถึงแม้ว่าทุกๆรูปแบบต้องตาย  จากการเข้าใจของการอยู่ร่วมกันของชีวิต ทำให้เกิดความเมตตาเกิดขึ้น ที่เป็นความรู้สึกต่อชีวิตของผู้อื่น ความเมตตาได้ถูก พรรณาว่าเป็นกฎแห่งความสามัคคีชั่วนิรันดร และคนผู้ที่ทำลายความสามัคคี จะเป็นทุกข์ตามที่เขาได้กระทำไว้ และทำให้เขาเองไม่มีวันพบหนทางที่จะบรรลุ  

6.            ชีวิตมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทุกๆภาคส่วนของร่างกายของเรามีความสำคัญเท่า ๆ กันทั้งหมด เพราะความโง่เขลาเบาปัญญาของมวลมนุษย์เราเอง ที่ทำให้คนเรามักคิดอยู่เสมอว่า ตนเองจะสามารถพยายามเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของเขาให้ประสบผลสำเร็จ และความเห็นแก่ตัวของความอยากโดยตรงที่ผิดพลาดร้ายแรงเป็นเหตุ พระพุทธเจ้าได้สอนอริยสัจ 4 อย่างดั่งนี้  

Ø การมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งของความทุกข์  

Ø เหตุแห่งทุกข์และความอยากโดยตรงที่ผิดพลาด  

Ø การบำบัดรักสาทุกข์และการเอาเหตุแห่งทุกข์ออก 

Ø ด้วยการปฏิบัติตามเส้นทาง อริมรรคมีองค์แปด ของการพัฒนาตนเองซึ่งเป็นเส้นทางแห่งการนำไปสู่การสิ้นสุดแห่งทุกข์

7.            มรรคมีองค์แปดประกอบมี

Ø ความคิดชอบหรือว่าความเข้าใจขั้นพื้นฐาน

Ø จุดประสงเป้าหมายหรือแรงจูงใจที่ถูกต้อง

Ø วาจาชอบ

Ø การกระทำชอบ

Ø การเลี้ยงชีพชอบ

Ø ความเพียรชอบ

Ø ความระรึกชอบหรือการพัฒนาจิตใจ

Ø การตั้งสมาธิชอบ ซึ่งเป็นเส้นทางนำไปสู่การตรัสรู้อย่างเต็มเปรี่ยม 

ดั่งที่ทางพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งวิถีทางแห่งชีวิต ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ทฤษฏีเท่านั้น มันยังเป็นเส้นทางที่ประเสริฐที่สุด  ที่มีความสำคัญต่อการปดปล่อยตัวเองออกจากทุกข์  ด้วยการไม่ทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจของตัวเองให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

8.            ความจริงในสัจทำเป็นอจินไตย  และคุณสมบัติของพระผู้เป็นเจ้าก็ไม่ใช่ความจริงที่สูงสุดของความจริงแต่อย่างไร แต่พระพุทธเจ้าให้เหตุผลว่า ความเป็นมนุษย์สามารถที่จะตรัสรู้ได้ และเป้าหมายของชีวิตนั้นก็คือการบรรลุเป็นพระอรหันต์ นั้นก็คือการตรัสรู้สภาวะของจิตคือพระนิพพาน  ความเป็นพุทธนั้น มีในมนุษย์ทุกคนและชีวิตทุก ๆ ชีวิต  เพราะฉะนั้นพวกเราก็จะเป็นไปตามที่ตัวเองตั้งความหวังเอาไว้แล้วประพฤติตาม ก็จะสามารถเป็นพุทธได้

9.            หนทางแห่งมรรคเริ่มจากจุดที่เราคิดจนถึงการปฏิบัติ ให้ถึงความหลุดพ้นคืออริยมรรค ออกจากความอยากคือตันหา  นำไปสู่ความสงบและกระบวรการพัฒนาตนเอง ระหว่างทางตรงกันข้าม คือหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เคร่ง และหย่อนยานจนเกินไป  พระพุทธองค์ได้เดินตามทางสายนี้จนถึงความสิ้นสุดแห่งทุกข์ ในที่สุด ศรัทธาในทางพระพุทะศาสนานั้นต้องเป็นศรัทธาที่ประกอบไปด้วยเหตุผล  ซึ่งผู้ที่แนะนำเรานั้นเป็นผู้ที่ได้ประพฤติ ปฏิบัติด้วยตนเอง จึงจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเราที่จะปฏิบัติตาม ผู้ปฏิบัติตามต้องปฏิบัติให้เห็นตัวจริงว่า กายและจิตต้องเท่าเทียมกัน “พระพุทธองค์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่สัตว์ทั้งหลาย

10.    พระพุทธศาสนาเน้นหนักใส่ความตั้งใจภายใน และการฝึกสมาธิ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาปัญญาภายในใจแห่งชีวิต  ชีวิตประจำวันที่ผ่านไปทุกวันมีความสำคัญสำหลับพวกเรา และความเยือกเย็นในทุกขณะของจิต เรามีความจำเป็นที่สุดที่ทำให้ชีวิตของเราสมดุล พุทธศาสนิกชนควรมีสติ ระมัดระวังทุกเมื่อ งดเว้นจากการเอาจิตและอารมณ์ไปยึดติดในการยั่วยุของกิเลส บุคคลใดที่ภาวนาเป็นประจำ และรู้แจ้งว่าทุกอย่างเกิดมาจากการกระทำของตนจะช่วยให้เขาสามารถควบในสิ่งที่จะเกิดขึ้นแก่เขาได้

11.     พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เราสามารถนำตนให้ถึงความหลุดพ้นได้ด้วยวิริยะ และความไม่ประมารถ” ทางพุทะศาสนาของพวกเราให้รู้ว่า ตนนั้นแหละสามารถรู้ถึงสัจได้ด้วยตน โดยไม่อาศัยอำนาจวิเศษอันใด  ตัวของเราเองคืออำนาจพิเศษ มนุษย์เราทุกคนล้วนแต่เป็นทุกข์เพราะการกระทำของตนเองทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเราควรเรียนรู้ ว่าเราควรจะวิ่งวอนหาพระพุทธเจ้า หรือพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ให้มาป้องกันโพยภัยที่เกิดจากตน  พระภิกษุเป็นครูบาอาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี และวางตัวเป็นกลางเหมือนบุรุษไปรษณีย์  พระท่านได้ใช้วิริยะสูงสุดในการปฏิบัติ  ในทุกๆศาสนาและปรัชญาไม่มีบุคคลใดที่จะสามารถไปแทรกแซง ยุ่งเกี่ยวกับปณิธานของท่านได้

12.    พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่มองโลกในแง่ร้าย  หรือหลีกเลี่ยงทุกอย่าง และไม่ใช่ศาสนาที่ปติเศษการมีอยู่ของพระเจ้าหรือวิญญาณ เพราะฉะนั้นศาสนาพุทธของพวกเราจะอยู่ระหว่างสองย่างที่กล่าวมาข้างบนนี้  ในทางกับกันพุทธศาสนาเป็นระบบแห่งความนึกคิด ศาสนา วิทยาศาสตร์  จิตวิทยา และวิถีชีวิต ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นถานแห่งเหตุผล ที่สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติตาม และเป็นสิ่งควรน้อมนำมาใส่ตน นับเป็นเวลาสองพันกว่าปีมาแล้วในอดีตที่พระพุทะศาสนาของพวกเราได้ยกระดับ จิตวิญญาณของมวลมนุษย์เกือบหนึ่งส่วนสามของมนุษย์ ในโลก พระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และต้องการของชาวตะวันตก เพราะว่ามันเป็นศาสนาที่ไม่เชื่อในสิ่งต่างๆโยง่าย  เป็นศาสนาแห่งเหตุผลเป็นน่าเชื่อถือได้ เราสามารถศรัทธาด้วยจิตใจของเราโดยอาศัยเหตุผลนั้น  พระพุทธศาสนานั้นสามารถท้าทายด้วยการเข้ามาพิสูจน์ด้วยตัวของเราเอง และเป็นศาสนา ปรัชญา จิตวิทยา  จริยธรรม และศิลปะ   และเป็นศาสนาที่ชี้บอกให้คนเรารู้ว่าตัวเราเองเป็นผู้สร้างชีวิตของตนเองในชาตินี้และชาติต่อ ๆไป

      จากการศึกษาชีวิตและผลงานของ Christmas Humphreys เห็นได้ว่าเพราะเขาเป็นคนแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ และเป็นคนสนใจคนอื่น ทำให้ชีวิตของเขาหันรับเอาพุทธศาสนา ที่เสามารถหาคำตอบที่เป็นไปตามเหตุผล และมีหลักการที่สามารถพิสูจน์ได้ คงเหมือนกับนักปราชญ์ทุกคนที่รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีเขาก็จะทุ่มเทให้แก่สิ่งนั้น Christmas Humphreys ดูได้จากผลงานของเขาจะเห็นได้ว่าเขาสามารถที่จะนำแก่นพุทธศาสนาทั้งหมดมาเขียนเป็นหลักการ โดยไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเป็นเถรวาท หรือมหายาน แต่เป็นแก่นพุทธศาสนาโดยรวม ที่สามารถแสวงหาสัจธรรมนั้นได้โดยไม่ต้องสงสัย  นอกจากจะเป็นหนังสือธรรมที่ดีมากมายแล้วเขายังได้เขียนบทความในวารสาร ทางพุทธศาสนาที่มีชื่อว่า “ทางสายเอก” มาเป็นประจำนอกนี้ยังได้เป็นผู้บรรยาย สนับสนุนทุนในการก่อตั้งสมาคม   จนถึงวาละสุดท้ายแห่งชีวิต เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526) รวมอายุได้ 82 ปี

            สรุปรวมแล้ว Christmas Humphreys เป็นพุทธทาส เป็นอุบาสกที่ค้ำจุลพุทธศาสนาที่แท้จริง เขาได้น้อมนำเอาหลักธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสดีแล้วมาใส่ตน และเผยแพร่แก่ชาวโลกสืบต่อไป

ดูรายระเอียดได้ใน เมธีตะวันตกชาวพุทธของพันเอกพิเศษ นวมสงวนทรับย์

               www.blavaskytrust.org.uk         

********************************************************************

โดย ดี.ที.ซูซูกิ

1. ไม่มีการสัญญาใดๆ เพียงทำในสิ่งที่คุณทำแล้วสนุกมากที่สุด2. ไม่มีการเซ็นสัญญาใดๆ เพียงทำในสิ่งที่ไม่ต้องการลายเซ็นใดๆ3. ไม่ต้องนำเสนอสิ่งใดๆ เพียงแบ่งปันในสิ่งที่คุณมีกับผู้คนที่แสดงความสนใจ4. ไม่คาดหวังกับสิ่งใดๆ เพียงสนุกกับสิ่งที่คุณมีอยู่ ซึ่งมันมากมายแล้ว5. ไม่ปรารถนาสิ่งใดๆ เพียงสร้างการสำรองไว้และความปรารถนาในสิ่งต่างๆ จะจางหายไปเอง6. ไม่ต้องสร้างสรรค์สิ่งใดๆ เพียงตอบสนองอย่าง
โดย ดี.ที.ซูซูกิ
 . ไม่มีการสัญญาใดๆ เพียงทำในสิ่งที่คุณทำแล้วสนุกมากที่สุด
2. ไม่มีการเซ็นสัญญาใดๆ เพียงทำในสิ่งที่ไม่ต้องการลายเซ็นใดๆ
3. ไม่ต้องนำเสนอสิ่งใดๆ เพียงแบ่งปันในสิ่งที่คุณมีกับผู้คนที่แสดงความสนใจ
4. ไม่คาดหวังกับสิ่งใดๆ เพียงสนุกกับสิ่งที่คุณมีอยู่ ซึ่งมันมากมายแล้ว
5. ไม่ปรารถนาสิ่งใดๆ เพียงสร้างการสำรองไว้และความปรารถนาในสิ่งต่างๆ จะจางหายไปเอง
6. ไม่ต้องสร้างสรรค์สิ่งใดๆ เพียงตอบสนองอย่างดีต่อสิ่งที่เข้ามาหาคุณ
7. ไม่ชักจูงผู้อื่น เพียงทำให้พวกเขาสนุก
8. ไม่ทำให้เกิดการหลั่งของสารอะดรีนาลีน เพียงเพิ่มคุณค่าและรู้สึกตื่นเต้นไปกับมัน
9. ไม่ต้องกระตุ้นใคร เพียงปล่อยให้คุณภาพขายตัวมันเอง
10. ไม่ต้องแก้ไขอะไร เพียงรักษาตัวคุณเอง
11. ไม่ต้องวางแผนใดๆ เพียงเดินตามเส้นทางที่มีการต่อต้านน้อยที่สุด
12. ไม่ต้องเรียนรู้อะไร เพียงปล่อยให้ร่างกายของคุณซึมซับมันทั้งหมดเพื่อคุณ
13. ไม่ต้องเป็นแบบอื่น เพียงเป็นให้มากขึ้นในสิ่งที่คุณเป็นอยู่แล้ว
14. ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร เพียงพูดความจริงและสิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงด้วยตัวของมันเอง
Archetype of Wholeness
วัฏฏะแห่งธรรมชาติในรูปของวงกลม
The Natural Cycle Seen through Circles

วงกลมถูกใช้ในทางสัญลักษณ์เพื่อแสดงวงจรที่สมบูรณ์ของชีวิตเรา ไม่ว่าจะเป็นการบูชาพระอาทิตย์ นิยายปรัมปรา หรือศาสนศิลปะ วงกลมก็แสดงให้เห็นแง่มุมที่มีชีวิตที่สุดของการมีตัวตนของเรา ซึ่งก็คือความสมบูรณ์ วงกลมก่อให้เกิดความรู้สึกสงบและสมบูรณ์มาทุกยุคทุกสมัย คาร์ล จุง (Carl Jung) เขียนไว้ในงานของเขาว่าวงกลมคือ “ตัวอย่างของความเป็นทั้งหมดตลอดกาล”
ความเชื่อมโยงของเรากับวงกลมนั้นค่อนข้างชัดเจน เราถูกโอบล้อมด้วยวงกลมของขอบฟ้า เราอาศัยอยู่ในดาวเคราะห์ทรงกลมที่โคจรเป็นวงรอบดวงอาทิตย์ภายใต้โดมขนาด มหึมาที่พร่างพราย เราได้รับความรักจากดวงจันทร์ ศิลปะให้ความสำคัญกับรูปร่างในธรรมชาติที่สะท้อนวงกลมที่เป็นนามธรรมนี้ ตั้งแต่แหวน รูปทรงกลม ไปถึงวงล้อ เราประดับรัศมีไว้เหนือศีรษะของเหล่านักบุญ และเต้นระบำอันศักดิ์สิทธิ์เป็นวงกลม
มีตัวอย่างการใช้วงกลมมากมายในพุทธศาสนา เราเรียกคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า “ธรรมจักร” หรือกงล้อแห่งความจริง เซนต่อยอดคำสอนนี้ โดยกล่าวว่าเมื่อกงล้อแห่งธรรมหมุน มันหมุนไปในทั้ง 2 ทิศทาง ศาสนาพุทธสายทิเบตมีการฝึกทำ “มันดาละ” ภาพวงกลมที่แสดงถึงจักรวาลและแง่มุมต่างๆ เพื่อฝึกความสงบของจิตใจ สำหรับเซนแล้ว คือ “เอ็นโซ” (enzo) หรือการวาดภาพวงกลม

เอ็นโซเป็นเรื่องสามัญที่สุดในการวาดภาพแบบเซน มันเป็นสัญลักษณ์ของการรู้แจ้ง พลัง และจักรวาล เป็นการแสดงผลแห่งการกระทำและปัจจุบันขณะ เอ็นโซเป็นวิชาที่ลึกซึ้งที่สุดในบรรดาภาพเขียนแบบเซนที่เรียกว่า “เซนงะ” (zenga) เชื่อกันว่าคุณลักษณะของศิลปินจะแสดงออกมาอย่างชัดเจนผ่านวิธีที่เขาหรือเธอวาดเอ็นโซ คนที่มึจิตและวิญญาณที่สมบูรณ์เท่านั้นจึงจะวาดเอ็นโซที่แท้จริงได้ ศิลปินบางคนฝึกเขียนเอ็นโซทุกวันเพื่อฝึกฝนจิตใจ
แม้รูปร่างของเอ็นโซจะดูไม่ซับซ้อน แต่แก่นของมันกลับยากที่จะเข้าถึงหรือให้คำจำกัดความ ด้านหนึ่งมันเป็นเพียงภาพวงกลมที่เขียนด้วยการลากพู่กันเพียงครั้งเดียวภาย ในหนึ่งลมหายใจ อีกด้านหนึ่งเอ็นโซเป็นตัวแทนของความสมบูรณ์ของช่องว่าง บางคนบอกว่าเอ็นโซไม่มีความหมายที่แท้จิรง ขณะที่บางคนยืนยันว่ามันชี้นำและแสดงให้เห็นการกระทำต่อเนื่องอย่างไม่หยุด ยั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมา เมื่อผู้ชมดูภาพเอ็นโซ ภาพจะสื่อสารและได้รับการชื่นชมได้ในหลายระดับขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของ จิตใจผู้ชม
รูปร่างของเอ็นโซต่างกันไปตั้งแต่ภาพที่เป็นสมมาตรไปจนถึงภาพที่ไม่เป็นรูป เป็นร่าง ฝีแปรงบางและนุ่มนวลไปจนเส้นกว้างและรุนแรง เอ็นโซหลายภาพมีข้อความหรือกลอนสั้นๆ ที่เรียกว่า “ซัง” (san) ประกอบ ศิลปินอาจเป็นคนเขียนขึ้นเองหรือเป็นผู้ชมที่เขียนวิจารณ์ภาพ เพื่อทำให้บริบททางศาสนาหรือจิตวิญญาณชัดเจนและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ภาพเอ็นโซทำหน้าที่เป็นข้อความหรือคำถามที่ขัดแย้งที่มองเห็นได้ หรือเป็นการสาธิตที่ชี้หรือแนะให้เห็นธรรมชาติของความจริง มันสะท้อนให้เห็นความเข้าใจของศิลปินว่าที่สุดแล้วคำพูดและภาพใดๆ ก็ไม่สามารถแสดงให้เห็นความเป็นจริงได้อย่างสมบูรณ์ อาจารย์เซนจึงพยายามชี้ให้เห็นเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาที่สุดเพื่อช่วยให้ เราเห็นธรรมชาติที่แท้ของความจริงแทนที่จะมานั่งอธิบาย
ความสำคัญของการชี้แนะอย่างตรงไปตรงมาภายใต้การฝึกฝนทางศาสนาเป็นสิ่งที่สืบทอดและขัดเกลากันมาในศาสนาพุทธนิกายเซน ท่านโพธิธรรมผู้ก่อตั้งเซนนิยามธรรมเนียมนี้ไว้ดังนี้
“...การส่งผ่านที่อยู่เหนือสิ่งที่เขียน
ไม่ต้องอาศัยคำพูดหรือตัวอักษร
ชี้ตรงไปยังจิตใจของมนุษย์
และการตระหนักถึงการรู้แจ้ง...”
การ ชี้นำมีหลายแบบ แต่ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับรายงานเล่มนี้มากที่สุดคือการที่ศิลปะทำหน้าที่ นำปัญญาไปสู่คำถามที่ขัดแย้งซึ่งเป็นพื้ยฐานของคำสอนเซนเกือบทั้งหมด หลายร้อยปีมาแล้วที่เอ็นโซเป็นแนวทางให้พระและผู้ฝึกฝนแก้ปมอันซับซ้อนของ เงื่อนคำถามที่ปรมาจารย์ตั้งไว้ บางครั้งเอ็นโซก็ปรากฏในคำถามที่ขัดแย้งนี้เอง

ในสมัยคามาคุระ (Kamakura, ค.ศ. 1200-1350)มีความเจริญรุ่งเรืองด้านการผสมผสานวัฒนธรรมแบบเซน โดยสามารถหลอมรวมศิลปะ วิถีชีวิต และคำสอนทางศาสนาให้เป็นเอกภาพ ศิลปะเหล่านี้ได้พัฒนาเป็น “ฉะโด” (chado) หรือศิลปะการชงชา ขลุ่ยไม้ไผ่ การจัดสวน ละครโน (no) เครื่องกระเบื้อง “คิวโด” (kyudo) หรือการยิงธนู และที่สำคัญที่สุดคือ “โชโด” (shodo) หรือภาพเขียนและบทกวี โด แปลว่าทาง ศิลปะเหล่านี้ถูกเปรียบเป็น “ทาง” เพราะมันเป็นลายแทงแห่งศาสตร์ในการขัดเกลาความเข้าใจตนเองของศิลปินและความ เข้าใจในธรรมชาติของควมจริง เมื่อศาสตร์เหล่านี้รวมกันจึงกลายเป็นสิ่งที่รู้จักกันในนาม “ศิลปะที่ไร้ศิลปะของเซน” เทคนิคต่างๆ ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมา และใช้เป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารความจริงแบบเซน
ศิลปะ แบบเซนแตกต่างจากพุทธศิลป์แขนงอื่นๆ เนื่องจากไม่ได้เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งอื่น จุดประสงค์ของเซนไม่ได้อยู่ที่การทำให้ประสบการณ์ทางศาสนาของผู้ที่เลื่อมใส ลึกซึ้งขึ้น ไม่มีการใช้ศิลปะแบบนี้ในการบูชา พิธีกรรม หรือการสวดภาวนา ไม่แม้แต่ใช้เพื่อทำให้รู้สึกถึงความเปิดเผย การมีสติรู้ตัว หรือความอ่อนไหวต่อคำสอนทางจิตวิญญาณ ศิลปะแบบเซนในฐานะ

John Daido Loori, Enso, UK: Weatherhill Boston&London, 2007, Page xiii

ศิลปะอันศักดิ์สิทธิ์เป็นการแสดงสิ่งที่เหนือคำบรรยายอย่างตรงไปตรงมา มันช่วยเปลี่ยนความเข้าใจของเราต่อตัวเองและจักรวาล มันทำให้สิ่งที่มองไม่เห็นมีรูปร่าง

ในศิลปะเซนแบบดั้งเดิม ภาพเขียนและการเขียนอักษรทำหน้าที่เป็นวาทกรรมทางสายตา ขณะที่บทกลอนสื่อถึงแก่นแห่งความไร้คำพูดของเซน ดี.ที. ซูซูกิ (D.T. Suzuki) กล่าวถึงรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เหล่านี้ว่า

“...ศิลปะ แห่งเซนไม่ได้มีจุดหมายเพื่อการใช้งาน หรือเพื่อความบันเทิงทางสุนทรียะ แต่เพื่อฝึกฝนจิตใจอย่างหนักเพื่อให้จิตสื่อสานกับความจริงสูงสุด...”

นอกจากนี้ยังมีมรดกทางวัฒนธรรม วรรณกรรม และศิลปะของเซนที่เรายังค้นไม่พบ เมื่อรากแห่งการฝึกฝนและปฏิบัติได้หยั่งลงบนฝั่ง ก็ถึงเวลาชื่นชมกับแง่มุมอื่นๆ ของมรดกทางวัฒนธรรม พร้อมกับทำให้เราเข้าใจศิลปะที่ไร้ศิลปะของเซนยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ที่สุดแล้วเราควรพิจารณาเอ็นโซที่ไม่มีเหตุผลหรือชี้ไปยังการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ นอกจากตัวเอง มันดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์ไร้ที่ติ และมีคุณค่าทางศิลปะในตนเอง เอ็นโซเป็นรางวัลแก่ตัวเอง มันไม่มีเหตุอื่นนอกเหนือจากตัวเอง และไม่ส่งผลอื่นๆ นอกเหนือจากตัวเองเช่นกัน ผลผลิตของเอ็นโซคือเอ็นโซ
“...วงกลมนี้วงเดียว
ไม่มีพระองค์ใดกระโดดข้ามไปได้...”
การใช้ภาพวงกลมในพุทธศาสนาสามารถสืบย้อนไปได้ถึงตำนานพระพุทธศากยมุนี (ประมาณ 563 ปีก่อนคริสต์กาล) อาจารย์เซนท่านหยุนเหมิน (Yun-men) อ้างว่าพระองค์ทรงยกพระหัตถ์ชี้ไปบนสวรรค์หลังประสูติ แล้วเดินเป็นวงกลม 7 ก้าว และประกาศองค์เป็นผู้ทรงเกียรติ การเวียนเทียนรอบบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจดีย์นั้นเป็นประเพณีพุทธมาแต่โบราณ อย่างไรก็ตาม แนวคิดพุทธยุคแรกๆ ให้ความสนใจสัญลักษณ์รูปกลมน้อยกว่าความว่างเปล่า คตินี้พัฒนาถึงขีดสุดในสมัยพระกปิมล (Kapimala) พระสังฆปรินายกองค์ที่ 13 ของอินเดีย (ศตวรรษที่ 2-3) ผู้ซึ่งถูกเอ่ยถึงใน Denkoroku ของอาจารย์ชาวญี่ปุ่น ท่านเคซัง โจคิน (Keizan Jokin ค.ศ.1268-1325) ท่าเคซังเขียนถึงพระองค์ไว่ว่า เมื่อท่านเคาะความว่างเปล่าก็จะเกิดเสียงสะท้อน เสียงต่างๆ จึงกังวานขึ้น การเปลี่ยนแปลงความว่างเปล่าให้กลายเป็นสิ่งต่างๆ เป็นเหตุผลว่าทำไม
D.T. Suzuki, Zen and Japanese Culture, UK: Princeton University Press, 1959,Page 31
Victor Sogen Hori, Zen Sand, USA: University of Hawaii Press, 2003, Page 469

รูปร่างและรูปทรงจึงมีความหลากหลาย ท่านจึงไม่ควรคิดว่าความว่างเปล่าไม่มีรูปร่างหรือไม่มีเสียง หากพิจารณาให้ดีแล้ว สิ่งนี้ไม่อาจเรียกได้ว่าที่ว่าง แต่ก็ไม่อาจเรียกได้ว่ามีอยู่เช่นกัน
พระสังฆปรินายกทรงถ่ายทอดคำสอนของท่านไปยังพระโพธิสัตว์นาครชุน (Nagarjuna) ซึ่งได้เชื้อเชิญท่านไปเยี่ยมและมอบแก้วสารพัดนึกให้ พระโพธิสัตว์นาครชุนจึงถามว่า “นี่เป็นหินที่ล้ำค่าที่สุดในโลก มันมีรูปหรือไร้รูปกัน” พระกปิมลตอบว่า “ท่านรู้จักแต่มีรูปหรือไร้รูป ท่านไม่รู้ว่าหินนี้มีรูปหรือไร้รูป และท่านยังไม่รู้ว่าอัญมณีนี้ไม่ใช่อัญมณี” ถึงตอนนี้พระโพธิสัตว์นาครชุนจึงเห็นแจ้ง และกลายเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 14 พร้อมกันนั้นยังมีความเชื่ออีกว่า พระโพธิสัตว์นาครชุนเป็นผู้แรกที่เขียนปรัชญาปารมิตาสูตร (Prajnaparamita-sutra) หรือพระสูตรแห่งปัญญาแห่งการรู้แจ้ง ซึ่งเป็นบทที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุย้อนไปถึง 100 ปีก่อนคริสต์กาล และเป็นพระสูตรที่เป็นรากฐานของพุทธแบบมหายาน ในพระสูตรบทนี้ แนวคิดที่ว่า “ช่องว่าง” แสดง “ความว่างเปล่า” หรือ “ความไม่มี” พัฒนาล้ำหน้างานเขียนชิ้นก่อนๆ ไปมาก นอกจากนี้พระสูตรบทนี้ยังทำให้เกิดแนวคิดเรื่องการเป็นอยู่ สภาวะสูงสุดของการดำรงอยู่ แนวคิดทั้งสองนำไปสู่การรู้แจ้งที่สมบูรณ์ หรือสิ่งที่เป็นอยู่ขณะนี้คือการรู้แจ้งอย่างสมบูรณ์ไม่มีใดเปรียบ ผลแห่งการกระทำนี้ไม่มีเพิ่มหรือลด พระสูตรบทนี้ยังรวมมหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (Mahaprajnaparamitahridaya-sutra) ซึ่งกล่าวถึง
“...รูปร่างคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่าคือรูปร่าง
รูปร่างไม่ใช่อย่างอื่นนอกจากความว่างเปล่า ความว่างเปล่าไม่ใช่อย่างอื่นนอกจากรูปร่าง
สิ่งที่มีรูปร่างคือความว่างเปล่า สิ่งที่ว่างเปล่านั้นคือรูปร่าง
ข้อนี้ใช้ได้กับอารมณ์ ความคิด ความเคลื่อนไหว และการแยกแยะ…”

ในปรัชญาปารมิตาสูตร พระโพธิสัตว์นาครชุนได้พัฒนาแนวคิดเรื่องสัมพันธภาพของท่านว่าด้วยทุกสิ่ง ดำรงอยู่ได้ด้วยอีกสิ่งหนึ่ง ดังนั้น ทุกสิ่งจึงเป็นเพียงความสัมพันธ์ต่อกันและไม่ได้มีแก่นใดๆ หรือเรียกได้ว่าว่างเปล่า แนวคิดนี้ค่อยๆ ถูกกลั่นกรองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเซน เซนมองว่าความคิดเรื่อง “สิ่งที่เป็นอยู่ขณะนี้” เป็นการรู้แจ้งในชีวิตประจำวัน เป็นการชื่นชมประสบการณ์และวัตถุที่เรียบง่ายธรรมดา และเป็นความคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบันขณะ

เมื่อมีการวาดภาพเอ็นโซมากขึ้น ความหลากหลายของแนวคิดหลักและคำอธิบายภาพก็เพิ่มขึ้นด้วย แม้ภาพเอ็นโซบางภาพจะไม่มีคำอธิบายประกอบ ภาพส่วนใหญ่จะมีข้อความหรือวลีที่สะท้อนแง่มุมคำสอนแบบเซน ชิบายามา เซ็นเค เขียนไว้ว่า “คุณจะเห็นจิตวิญญาณของผู้เขียนในคำอธิบายสั้นๆ นั้น นั่นเป็นลักษณะเฉพาะของเซน...การเลือกคำอธิบายมาจากนั้น คำอธิบายคือการแสดงออกถึงจิตวิญญาณ ในฐานะผู้ที่เชื่อในเซน หัวใจของผมถูกดึงไปในทิศต่างๆ ที่อธิบายไม่ได้”
โดยรวมแล้ว เอ็นโซแสดงให้เห็นคุณสมบัติเหลือคณานับของจักรวาล ทั้งความยิ่งใหญ่ อำนาจอันไร้ขีดจำกัด และปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่เอ็นโซยังสามารถแสดงช่องว่างได้อย่างง่ายดาย “ภายนอก-ว่างเปล่า ภายใน-ว่างเปล่า ทั้งภายในและภายนอก-ว่างเปล่า” ปกติแล้วภาพเอ็นโซมักสื่อถึงดวงจันทร์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนการรู้แจ้ง แต่ยังแสดงถึงภาพสะท้อนของพระจันทร์ในน้ำ สัญลักษณ์แทนความเปล่าประโยชน์ที่จะค้นหาความรู้แจ้งจากภายนอกตนเอง ถ้าจะไม่พูดในแง่ปรัชญา เอ็นโซก็สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น แป้งต้ม ข้าวปั้น ตะกร้า หรือถ้วยชากับจิตที่จดจ่ออยู่กับการดื่มในปัจจุบันขณะ
“วงกลมคือหน้าต่าง มันคือความสงบ ความเงียบ ความสมบูรณ์ และความสอดคล้อง มันคือทั้งหมดและหนึ่งเดียว ในทางกลับกัน รูปทรงที่มีมุมแสดงความขัดแย้ง ความขัดเคือง และความตื่นเต้น มันสื่อถึงการปกปิด ความไม่เท่ากัน ส่วนใดส่วนหนึ่ง และจุดเฉพาะ แนวคิดทั้งสองตรงข้ามกัน อย่างไรก็ตาม การพิจารณาภาพเอ็นโซของเซนในแง่มุมนี้นั้นผิดไปมาก ภาพเอ็นโซของเซนวาดเป็นวงกลม จุดศูนย์กลางของวงกลมซ่อนมุมต่างๆ ไว้ และวงกลมก็ถูกซ่อนอยู่ภายในมุมทั้ง 4 ทั้งวงกลมและมุมต่างปิดบังความเป็นหนึ่ง ในจุดกึ่งกลางของเอ็นโซ ความจริงเผยให้เห็นชีวิตและวิญญาณของวงกลมและมุมธรรมดา นี่คือวงกลมที่เหยือกเย็นที่สุด”
Shibayama Zenkei, Zenga No Enzo, Tokyo: Shunshusha, 1969,page 7
แนวคิดเรื่องกายของเถรวาท
แนวคิดเรื่องกายของเถรวาท


               ก่อน อื่นคงจะต้องเกริ่นเสียก่อนว่า  ความคิดที่แตกแยกกันในเรื่องกายนั้นมีปรากฏมานาน  และมีการอธิบายแก้กันอยู่ในระหว่างผู้ที่มีความเข้าใจแตกต่างกันเหล่านี้  นี่เป็นตัวอย่างอันดีของบรรดานักปราชญ์ในกาลก่อน  ที่พยายามนำเสนอแนวคิดที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจในประเด็นธรรม  แม้การเผยแพร่หลักคิดต่าง ๆ  ในกาลก่อนยังไม่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพดังในปัจจุบัน  แต่ท่านเหล่านี้ก็ได้ทำหน้าที่ของตนได้อย่างน่าสรรเสริญ


               ใน กถาวัตถุ (เรื่องใน  อภิธรรมปิฏก  เป็นคำถามตอบหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา)  ได้มีการอภิปรายถึงเรื่องการดำรงอยู่จริงของพระพุทธเจ้า  ทั้งนี้ก็เพื่อลบล้างความคิดของพวกที่ไม่เชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าในประวัติ ศาสตร์และเนื้อความใน  กถาวัตถุ นี้เอง  ที่ถือเป็นความเห็นหลักที่สามารถอ้างได้  ว่าเป็นแนวคิดเรื่องกายที่เถรวาทมีอยู่


               แม้จะมีคำว่า  รูปกายและธรรมกาย (ธัมมกาย)  ในคัมภีร์บาลีในชั้นหลัง  โดยเริ่มต้นมาจากคัมภีร์ฝ่ายมหายาน  หรือกึ่งมหายานแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแนวคิดดังกล่าวจะถือกำเนิดเป็นรูป เป็นร่างเด่นชัดในแง่การปฏิเสธกายที่มีอยู่จริงของกายพระพุทธเจ้า (เรื่องราวต่าง ๆในพระสูตรหลายเรื่องมีนักปราชญ์วิเคราะห์เพิ่มเติมเข้ามาในการสังคายนา ครั้งหลัง ๆ  สำหรับพระอภิธรรมทั้งหมวดนั้น  เป็นการรจนาของนักปราชญ์ในการสังคายนาครั้งหลัง ๆ  เช่นกัน  การวิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือของเรื่องเหล่านี้มีอยู่บ้างแต่ส่วนใหญ่ก็ ยอมรับว่าเป็นแนวคิดตามหลักพุทธศาสนาโดยมิได้แย้งว่าเป็นความเห็นที่แปลกแต่ อย่างใด  โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก  หมายเหตุใต้พระสูตรใน พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชนของอาจารย์สุชีพ  ปุญญานุภาพ  และการวิเคราะห์คำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทในวิสุทธิมรรค  โดยท่านพุทธทาสภิกขุและเรื่องปฏิจจสมุปบาทในพุทธธรรมของพระธรรมปิฎก)  เรามีตัวอย่างเนื้อความใน  ในการกล่าวถึงรูปกาย  และธรรมกายไว้อย่างชัดเจน (โดยท่านพุทธโฆษพระพุทธโฆษาจารย์)  ได้อ้างไว้เมื่อประมาณ  พุทธศตวรรษที่ ๑๐ ดังนี้


               “โย ปิ  โส  ภควา  อสีติอนุพฺยญฺชนปติมณฺทิตทฺวตฺตึสมหาปูริสสกฺขณวิจิตฺตรูปกาโย สพฺพาการปริสุทฺธสีลกฺขนฺธาทิคุณรตฺน  สมิทฺธธมฺมกาโย  ยสมฺหตฺต  ปุญฺญมหตฺต....อปฺปฏิปุคฺคโล  อรหํ  สมฺมาสมฺพุทฺโธ.....”


               (พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ผู้มี “รูปกาย” อันวิจิตรงดงามประดับด้วยมหาบุรุษ  ๓๒ ประการ  และอนุพยัญชนะ (ลักษณะปลีกย่อยต่าง  ๆ)  ๘๐  ประการและเป็นผู้มี  “ธัมมกาย” อันบริสุทธิ์แล้วในทุกหนทางและเรืองรองด้วย  ศีล  สมาธิ  ฯลฯ  เต็มไปด้วย ความล้ำเลิศ  และคุณธรรม  เป็นผู้ตื่นแล้วอย่างเต็มที่  และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน)


               แม้แนวคิดของท่านพุทธ โฆษาจารย์จะถือเป็นหลักตามความจริง  แต่ท่านก็มิได้อาศัยหลักพื้นฐานในการยกอำนาจวิเศษเหนือมนุษย์ให้แก่พระ พุทธเจ้าแต่อย่างใดดังเราจะเห็นได้ชัดเจนขึ้น จากคัมภีร์  อัฏฐสาลินี (เป็นอรรถกถาธรรม สังคณี  ท่านแต่งไว้ที่อินเดีย  ก่อนจะเดินทางไปลังกา)  โดยกล่าวว่าในช่วงระยะเวลาสามเดือนที่พระพุทธเจ้า  เสด็จจากโลกมนุษย์ไปทรงเทศนาพระอภิธรรมแก่พระมารดาในสวรรค์นั้น  พระองค์ได้สร้างนิมิตตพุทธขึ้น  อันเป็นการจำลองพระองค์ขึ้นมาใหม่ให้มีลักษณะดังเดิมทุกประการ


               กล่าว กันว่า  นิมิตตพุทธ  นี้มิอาจแยกแยะความแตกต่างจากพระพุทธเจ้าองค์จริงได้  ทั้งน้ำเสียง  คำพูด  และแม้รัศมีแสงที่เปล่งออกมาจากพระวรกาย  พระพุทธเจ้าองค์ที่นิมิตขึ้นมานั้น  จะมองเห็นได้ก็เฉพาะแต่เทวดาในสวรรค์ชั้นสูงเท่านั้น  ส่วนเทวดาทั่วไป  หรือมนุษย์ในโลกไม่อาจมองเห็นพระพุทธเจ้าองค์นี้ได้เลย


กล่าว แต่เพียงสั้น ๆ ได้ว่า  ฝ่ายเถรวาทสมัยแรก ๆ นั้น  รับรู้ถึงแนวคิดเรื่องรูปกายของพระพุทธเจ้า  ว่าเป็นมนุษย์ทั่วไป  และถือว่าธรรมกายของพระองค์นั้นเป็นที่รวมของธรรมะ นั่นคือ คำสั่งสอนและกฎระเบียบที่จัดรวบรวมไว้นั่นเอง
เราอาจกล่าวได้ว่า แม้มีถ้อยความ  เนื้อความ  ข้อความใด ๆ  ในคัมภีร์บาลีที่ยกอ้างถึงรูปกาย  หรือธรรมกายก็ดี แต่โดยนัยแล้ว มิได้มีความหมายเกินกว่าที่กล่าวมาข้างต้นเลย แม้ปราชญ์ชั้นหลัง โดยเฉพาะฝ่ายเถรวาทก็มิได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เลย  เพราะอาจมีแนวความคิดว่า  ธรรมกาย  เป็นของฝ่ายมหายาน ไม่ใช่ของฝ่ายเถรวาท  ก็เป็นได้


               ในสาย ตาของนักวิชาการฝ่ายมหายานก็มองว่า  “ธรรมกาย” มิได้เป็นของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน  ทว่า...”ธรรมกาย”  เป็นทั้งหมดของพระพุทธศาสนา  เพียงแต่คำว่า  “ธรรมกาย” มีอยู่มากมายในตำราที่อยู่ในครอบครองของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เพราะเส้นทางสายไหมที่พาดผ่านระหว่างจีน  ญี่ปุ่น  ธิเบต  และอินเดีย  คือถนนสายพระพุทธศาสนา ที่ท่านเซี่ยนจาง  (ถังซำจั๋ง)  นำพระคัมภียร์แบกใส่หลังช้างจากนาลันทาพุทธมหาวิยาลัยมุ่งหน้าเข้าภูมิ ลำเนาแห่งตน ก่อนวาระที่พระพุทธศาสนาจะเลือนหายไปจากประเทศอินเดีย
แนวคิดเรื่อง  ตรีกาย


               แนว คิดเรื่อง  ตรีกาย  หรือกระทั่งเรื่อง  กาย  เองนั้น  นับเป็นศัพท์ที่แปลกใหม่สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท  แนวคิดดังกล่าวแม้จะก่อสร้างตัวขึ้นในสำนักทางเถรวาทอย่างชัดเจน  แต่ก็ไปรุ่งเรืองเติบโตอยู่ในทางฝ่ายมหายานเสียมาก  ฉะนั้นเมื่อเอ่ยถึงเรื่องดังกล่าวในบ้านเรา จึงออกไปไม่คุ้นเคยกัน  แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าแนวคิดนี้ไม่ได้มีในเถรวาทมิใช่เช่นนั้น


               แนว คิดเรื่องตรีกายนั้นบังเกิดขึ้นในช่วงต้น ๆ  ของอายุพระพุทธศาสนาและพัฒนาในกาลต่อมา  จุดนี้จึงกลายเป็นลักษณะบอกความแตกต่างของพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (คือมหายาน)  และฝ่ายใต้ (คือเถรวาท)  อย่างชัดเจน  ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับทรรศนะ  และอุดมคติเรื่องพระโพธิสัตว์ด้วย  เราคงไม่โยงถึงรายละเอียดที่ลึกซึ้งจนเกินไปนัก


               เริ่ม ต้นกันที่ว่า  ตรี-กายหรือกายสามคืออย่างไร  ตรีกายนั้นที่เด่นชัดก็คือ  ตามแนวคิดของฝ่ายมหายาน  ซึ่งมีพัฒนาการมาช้านาน  และยังมีลักษณะแปลก  แยกออกไปมากมาย  ทั้งโทกาย  ตรีกาย  จตุรกาย  เบญจกาย  เป็นต้น (กายสอง กายสาม  กายสี่  กายห้า  ตามลำดับ)  แนวคิดนี้เกี่ยวโยงกับการคิดเชิงลักษณะ  หรือบุรุษ ที่เป็นหลักในการเล่าเรื่องคือแต่เดิมนั้น  คัมภีร์ต่าง ๆ จะถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้เล่าเรื่องเหล่านั้นด้วยการใช้ภาษาง่าย ๆ  เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกว่าพระองค์มีอยู่จริงแต่ในสมัยต่อมามีการยกขึ้นเป็น ผู้อยู่เหนือกว่ามนุษย์  รายล้อมและเป็นที่เคารพสักการะจากสรรพชีวิตทั้งปวง ทั้งมนุษย์  เทวดา  ยักษ์  คนธรรพ์ ฯลฯ ทั้งบางครั้งยังมีปรากฏปาฏิหาริย์  ซึ่งอาจจะเล่าด้วยการใช้ภาษาอันวิจิตรและมีสำนวนโวหารเชิงกวีด้วย


               ใน คัมภีร์บาลีนั้นในพระสูตรจะเริ่มต้นด้วย  “เอวมฺเม  สุตํ...ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วดังนี้”  จากนั้นก็เล่าเรื่องที่ว่าพระพุทธเจ้าเคยเล่าไว้ และนำไปยังแก่นเรื่องที่ต้องการนำเสนอ  ซึ่งปกติจะใช้ภาษาอย่างง่าย ๆ แต่หากเป็นคัมภีร์ฝ่ายมหายาน (ซึ่งอาจจะใช้ภาษาสันสกฤต  จีน หรือทิเบตเป็นพื้น  จะแตกต่างออกไป  กล่าวคือ  การเปิดฉากจะเริ่มต้นด้วย  “เอวมฺมยา ศฺรุตํ” เป็นการเตรียมใจให้ผู้อ่านคอยติดตามเรื่องที่ยิ่งใหญ่เหนือความปกติของ เหตุการณ์ทั่วไป


               พระพุทธเจ้าในคัมภีร์มหายานนั้น  ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดาที่เดินเหินในโลก  มิใช่พระโอรส  ของพระเจ้าสุทโธทนะ  ผู้ละทิ้งฐานะเดิมออกบวช  แล้วบรรลุโพธิญาณซึ่งก็จะก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า  แล้วพระพุทธเจ้า  ที่สั่งสอนพระธรรมแก่ชาวโลกมาเมื่อ ๒,๕๐๐  กว่าปีแล้วนั้นเป็นใครกัน  คำถาม  นี้แหละถือเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องกาย  และพัฒนาเป็นตรีกาย อันเป็นแนวคิดหลักที่ค่อนข้างเด่นชัดของฝ่ายมหายาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่ศึกษาและถกเถียงกันมาก
แม้เรื่องตรีกายจะเป็นจุดแบ่งแนวคิด ระหว่างมหายาน และเถรวาทแต่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทก็มิได้ปฏิเสธเรื่องกาย  เพียงแต่กล่าวถึงเพียง  ๒  กาย  คือรูปกาย และธรรมกาย
               นัก ปราชญ์ทางพุทธศาสนาอย่าง  ดี  ที่ ซูซูกิ  แสดงความเห็นว่าความคิดเรื่องมหาบุรุษผู้ไม่ตายนั้น (อย่างพระพุทธเจ้าในแนวคิดทางมหายาน)  เป็นแนวคิดสากล  เพราะในความรู้สึกแล้ว  คนเหล่านี้ยังไม่ตายอย่างแน่นอน  และคุณประโยชน์ที่มหาบุรุษได้สร้างไว้แก่โลกนับตั้งแต่อดีตและเป็นผลงานอัน โดดเด่น  ด้วยเหตุนี้คนที่มีคุณงามความดีสูงส่งก็ต้องเป็นผู้ไม่ตายอย่างแน่นอน  แต่ก็ใช่ว่าคนทั้งหมดจะมีแนวคิดตรงกันเช่นนี้  จึงเกิดการตั้งคำถาม  และมีความเห็นขัดแย้งกันมากมายในเรื่องดังกล่าว  ที่ได้ตั้งคำถามเรื่องลักษณะมหาบุรุษของพระพุทธเจ้า  ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดแนวคิด  สัมโคกายของฝ่ายมหายานขึ้นแนวคิดเรื่องธรรมกายก็ มาจากการตั้งคำถามถึงการตายของพระศากยมุนีนั่นเอง  โดยถือว่าด้วยบุญบารมีที่สะสมมาเป็นจำนวนหลายกัปกัลป์  จนนับไม่ถ้วนนั้น  ย่อมบังเกิดผลอันน่ามหัศจรรย์  ธรรมกายของพระองค์ นั้นอยู่เหนือการเกิดและการตายและยังอยู่เหนือนิรวาณด้วย  แต่กายจากนิมิตนั้น  ออกมาจากครรภ์ของตถาคตตามกำหนดของกรรม  และสิ้นไปเมื่อกรรมนั้นหมดอำนาจลง
              ในฝ่ายเถรวาทแล้ว  มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องกายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  เพราะสำนักนี้ถือว่าพระพุทธเจ้าคือมนุษย์ที่มีอยู่จริงในโลกเช่นมนุษย์ทั่ว ไป  และอยู่ในอาณัติของความเสื่อมไปทั้งปวงของกายที่มีอายุขัย แต่ในทางอภิปรัชญา  คือโดยหลักธรรมแล้ว  บางครั้งฝ่ายเถรวาทก็กล่าวว่าพระพุทธเจ้าก็คือ  ธรรมะโดยไม่มีนัยทาง  อภิปรัชญาเพราะไม่ต้องการให้ยึดติดกับพระพุทธเจ้าที่เป็นตัวบุคคล  หากแต่ให้มุ่งเน้นไปที่คำสอน  โดยมิต้องกังวลกับพระศากยมุนี  และด้วยเหตุนี้เอง  จึงเป็นการเปิดโอกาส  ให้สรรวาสติวาทและมหายาน  ได้เสนอแนวคิวทฤษฎีธรรมกายของตนต่อไปได้
               สำนัก สรรวาสติวาท นั้น  ได้ให้อรรถธิบายโดยละเอียดถึงกายของพระพุทธเจ้า แต่ฝ่ายมหาสังฆิกะนั้นเองที่ได้ตั้งคำถามเรื่องกายในเริ่มแรกและปูทางไปสู่ การพิจารณาโดยละเอียดต่อไปตามหนทางของฝ่ายมหายาน
               ใน สมัยแรก ๆ นั้น  ฝ่ายมหายานถือเอากายทั้งสอง  อันปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น  อษฺฏาทศสาหสฺริกา  ปฺรชฺยญาปารมิตา พร้อมกับสำนักของทานนาคารชุน(นั้นคือ สำนักมาธยมิก)  โดยรับรู้ว่ามีกายเป็นสองรูป คือ
               ๑. รูปกาย (หรือนิรมาณกาย)  และกำหนดหมายถึงกายหยาบและกายละเอียด  โดยหมายถึงสรรพชีวิตทั่วไป

             ๒.  ธรรมกาย  ซึ่งให้ความหมายไว้สองอย่างด้วยกัน  คือกายแห่งธรรม  ซึ่งก่อให้เกิดพระพุทธเจ้าที่เป็นบุคคล  และอีกอย่างหนึ่งก็คือหลักอภิปรัชญา  ที่กุมจักรวาล นั่นคือ  ตถตา (ความเป็นเช่นนั้นเอง)


               สำนักโยคาจารได้ แยกความแตกต่างระหว่างกายหยาบ  ออกจากกายละเอียด โดยตั้งชื่อกายหยาบว่า  รูปกาย  หรือ นิรมาณกายและตั้งชื่อกายละเอียดว่า สัมโภคกาย  ส่วนในคัมภีร์ลังกาวตาร  ซึ่งได้แสดงถึงยุคแรกเริ่มของโยคาจารก็ถือเอาว่าสัมโภคกายนั้นคือ  นิษยันทพุทธะ  หรือธรรมนิษยันทพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่บังเกิดจากธรรม) และในสูตราลังการ  ยังใช้คำว่า  สัมโภคกาย หมายถึง  นิษยันทพุทธะ  และใช้คำว่า  สวาภาวิกกาย  หมายถึง  ธรรมกายด้วย

ส่วน ในคัมภีร์  อภิสมยาลังการการิกา  และ  ปัญจวึศติสาหัสริกานั้น  คำว่า  สัมโภคกาย  หมายถึงกายละเอียด  ที่พระพุทธเจ้าใช้เพื่อเทศนาสอนแก่พระโพธิสัตว์ และธรรมกาย  หมายถึงกายที่บริสุทธิ์แล้วด้วยการปฏิบัติโพธิปักษิและปฏิบัติธรรมอื่น ๆ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นในทางอภิปรัชญาแล้ว  ธรรมกายในคัมภีร์เหล่านี้ล้วนแต่ใช้คำว่า  สวภาวะหรือสวาภาวิกกาย


               สำหรับคัมภีร์  วิชญปติมาตราสิทธิ  ยังมีแนวคิดเรื่องเดียวกับในการิกา  แต่ใช้คำใหม่คือ  สวสัมโภคกายเพื่อหมายถึง  ธรรมกายอย่างใน  การิกา และแตกความหมายของสัมโภคกาย ออกไปโดยใช้คำว่าประสัมโภคกาย  แทน


               สำหรับคำสอนของพวกที่เรียกว่า จิตรมาตระตา มีว่า  กายของพระพุทธเจ้ามีอยู่ทั้งหมด  ๓  กายด้วยกันคือ


               กายที่ ๑  คือ  ธรรมกาย (ธรมกาย)  ธรรมกายนั้นเป็นกายซึ่งประกอบด้วยธาตุธรรมอันบริสุทธิ์ และก็เป็นธรรมล้วน ๆ เป็นตัวเนื้อแท้ของพระสัมมาพุทธเจ้าและของสรรพสิ่งทั้งปวงเป็นพุทธภาวะที่ แน่นอน

               กายที่  ๒  ในลัทธิตรีกายนี้เรียกกว่า  สัมโภคกาย  แปลว่ากายแห่งความบริบูรณ์แห่งความสุขคือ  รูปกายนั่นเองเป็นกายเนื้อของพระตถาคตเจ้าประกอบด้วยมหาบุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และอสีติพยัญชนะทั้ง ๘๐ อย่าง  กายที่เรียกว่าสัมโภคกายนี้เป็นกายที่ไม่เที่ยงแต่เป็นกายที่ไปปรากฏต่อสาย ตาของชาวโลก  เพื่อสั่งสอนธรรมะแก่ชาวโลกทั้งหลาย และเป็นกายของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในแดนสุขาวดีดังมีในพระไตรปิฏกของจีน


               ส่วน ในพระไตรปิฏกสันสกฤตมีพระสูตรหนึ่งชื่อว่าสุขาวดีวยุหูตรพระสูตรนี้ก็มี  ๒  ฉบับ  ฉบับยาวกับฉบับสั้น  กล่าวถึงดินแดนทางทิศตะวันตกของโลก  เป็นดินแดนซึ่งมีพระพุทธเจ้าอยู่พระองค์หนึ่งพระนามว่า  พระอมิตตาภะ  พระวรกายของพระองค์  มีความสว่างไม่มีประมาณ  จึงเรียกว่า  อมิตตาภะ  และพระองค์ยังมีอีกพระนามหนึ่งว่าอมิตตายุส  คือมีกายอันไม่มีประมาณในพระสูตรนี้ได้อธิบายเรื่องสัมโภคกายว่า  เป็นผู้ที่ไปอธิบายธรรมะให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย  พระโพธิสัตว์ก็อยู่ในรูปของสัมโคกายด้วย


               กายที่  ๓  ในลัทธิตรีกายก็คือ นิรมาณกาย  เป็นกายซึ่งปรากฏอยู่ในโลกมนุษย์  พระพุทธเจ้าจะไปปรากฏในรูปกายต่าง ๆ  ได้โดยอาจจะเป็นสัตว์ก็ได้  เป็นผีเสื้อสักตัวหนึ่ง เป็นกระต่ายสักตัวหนึ่ง  หรือเป็นครูสอนสมาธิก็ได้  เกิดเป็นพระลามะทิเบตก็ได้  เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์
หากจะกล่าวกันถึงเรื่องตรีกายในลัทธิมหายาน ยังมีอีกหลายหลายแนวความคิด  ซึ่งคงจะต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป


               แม้ว่าในฝ่ายมหายานจะมีแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป  แต่กล่าวโดยสรุปได้ว่าตรีกายของมหายานนั้น  อาจพิจารณาได้ดังนี้


               ๑.  นิรมาณกาย  คือ  กายที่นิติขึ้นเป็นการประกาศตัวให้แก่โลกได้ประจักษ์


               ๒. สัมโภคกาย  คือ  กายอันเป็นสัญลักษณ์ของอุดมคติของพระพุทธเจ้าโดยปรากฏให้มีลักษณะพิเศษนานา


               ๓.  ธรรมกายคือ กายแห่งธรรมเป็นความบริบูรณ์หรือปารมิตา นั่นเอง

               นอกจากนี้คำว่า “ธรรมกาย”  ในเชิงความรู้ทั่วไปดูออกจะเป็นของใหม่ เรื่องใหม่  ที่ต้องการคำอธิบายอย่างยิ่ง  หลายคนคิดว่าธรรมกาย คือสภาวะอะไรสักอย่างที่ดูลี้ลับห่างไกล หลายคนคิดว่าธรรมกายคือนิกายใหม่ของพุทธศาสนาที่เพิ่งถูกคิดขึ้นมาในยุค ปัจจุบัน  หากในความเป็นจริงในโลกแห่งวิทยาการสากลด้านพระพุทธศาสนาว่ากันด้วยเรื่อง ราวของพุทธปรัชญา “ธรรมกาย” หรือ THE DHAMAKAYA  ในภาษาสันสกฤตกลับเป็นที่กล่าวขวัญและรู้จักกันดีในหมู่ของนักวิชาการที่ ทุ่มเทชีวิตเพื่อการศึกษาค้นคว้าทางด้านนี้ บรรดานักวิชาการมากมายต่างพยายามที่จะให้คำจำกัดความถึงสภาวะแห่งธรรมกายหรือนิยามของคำว่าธรรมกายให้ ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้  และส่วนใหญ่เป็นงานที่เกิดจากการค้นคว้าดัดแปลงมาจากพระสูตรต่าง ๆ ในภาคภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาจีน  ญี่ปุ่น  และธิเบต  ก่อนที่จะแปลมาเป็นภาคภาษาอังกฤษอีกชั้นหนึ่ง  คำจำกัดความเหล่านี้โดยส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมาจากพระสูตรของพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน  ซึ่งมีมากมายในจีน  ญี่ปุ่น  และธิเบต  เพราะเป็นภาคพื้นเดียวเท่านั้นที่รับมรดกทางด้านนี้ไว้มากที่สุด  ทางด้านที่เป็นตำราในลักษณะของตัวอักษร


               ซึ่ง ต่างต้องยอมรับว่าล้วนเป็นเรื่องราวของตัวอักษรที่ถ่ายทอดผ่านตัวอักษรเป็น ตัวอักษรบนพื้นฐานของความชำนาญทางด้านภาษาผสมกับความเข้าใจในปรัชญาเชิงพุทธ


               เรื่องราวของ “ธรรมกาย” ในพระพุทธศาสนาขณะนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักวิชาการตะวันตก จีน  ธิเบต  และญี่ปุ่น  ซึ่ง ต่างก็ยอมรับว่าเลือนรางเต็มทีในเรื่องของความเข้าใจจริง ๆ เพราะสิ่งนี้ได้ถูกทำให้เจือจางลงนานนักหนาแล้วนับตั้งแต่พุทธศักราชที่ ๕๐๐  โดยประมาณเมื่อหมดยุคสมัยของพระเจ้ากนิษกะ  มหาพุทธมามกะแห่งราชวงศ์กุศานะของอินเดียตอนเหนือเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


               อย่างไรก็ตาม  นี้เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งที่เสนอออกมาเท่านั้นข้าพเจ้าเพียงแต่ต้องการให้ ท่านได้เห็นภาพโดยรวมของกายต่าง ๆ  ทั้งในฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายานเพื่อเปรียบเทียบกับความหมายของกายต่าง ๆ  ที่กล่าวไว้ในตำรับตำราต่าง ๆ ในประเทศไทย 
การสอนไวโอลินตามวิธีของซูซูกิดีจริงหรือ ?
 
               การเรียนการสอนไวโอลินตามแบบวิธีของซูซูกิในประเทศไทย   ปัจจุบันเป็นที่นิยมและเริ่มแพร่หลายตามโรงเรียนดนตรีในกรุงเทพ ฯ  แม้แต่ในการเรียนการสอนขั้นอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัย,  สถาบันการดนตรีต่าง ๆ  หลายต่อหลายแห่งก็นำเอาตำราของซูซูกิไปใช้ ( Suzuki  Method ) ซึ่งในหลายที่ที่ข้าพเจ้าไปสัมผัสพบว่า  อาจารย์บางท่านก็ยังไม่เข้าใจถึงปรัชญาการสอนของซูซูกิ  เพียงแต่ว่าใช้ตำราของซูซูกิเป็นแนวให้นักเรียนฝึกตามเพลงในแบบฝึกหัดเท่านั้น  ซึ่งนอกจากจะไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่แล้ว  ยังเป็นการฝืนธรรมชาติการเรียนดนตรีอีกด้วย
     
               ท่านผู้เป็นเจ้าทฤษฎีตัวจริงของตำราซูซูกิ  คือ  ชึนอิชิ   ซูซูกิ  ( Shinichi  Suzuki ) ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ท่านได้เสียชีวิตไปเมื่อปี  1998 นี้เอง   สาเหตุ ที่ทำให้ซูซูกิสนใจในการเรียนการสอนไวโอลินเนื่องจากท่านได้ชมการแสดงของนัก เรียนที่จะเรียนจบปริญญาตรีทางดนตรีในสถาบันแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น  ซึ่งทำการแสดงเพื่อจบการศึกษา  ซึ่งมีผู้สนับสนุนทุนให้ซูซูกิเข้าเรียนดนตรีที่สถาบันนี้  เมื่อซูซูกิได้ฟังผลงานนั้นแล้วก็ตอบกับตัวเองว่า  หากอีก 4 ปีแล้วตัวเขาเองยังเล่นได้แค่นี้ก็ไม่ขอเรียนดีกว่า  เพราะผลงานของนักเรียนผู้นั้นไม่น่าประทับใจเลย
               ซูซูกิ  จึงเดินทางไปศึกษาต่อที่เยอรมันเมื่ออายุ 22  ปี   เขาได้ไปฟังดนตรีจากทุกแห่งเท่าที่จะหาฟังได้   และได้เรียนไวโอลินกับครูไวโอลินชื่อ  คลิงเลอร์ ( Klingler )   ระหว่างอยู่ที่เยอรมันซูซูกิได้อยู่ภายใต้การดูแลของ  ดร. ไมเคิลลิส  ( Dr. Michaelis ) ซึ่งเป็นหมออยู่ที่เยอรมัน  และต่อมา ดร. ไมเคิลลิสได้ย้ายไปเป็นคณบดีแพทย์ศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยจอห์นฮอฟกิน  สหรัฐอเมริกา  จึงฝากให้ซูซูกิอยู่กับนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก  คือ ดร. อัลเบริต์  ไอสไตน์  ( Dr. Albert  Einstein )
               ในงานวันเลี้ยงส่ง ดร. ไมเคิลลิส  ไปอเมริกา  ซูซูกิได้มีโอกาสเล่นไวโอลินเดี่ยวในบทเพลง  Violin  Concerto  ของ Bruch  ซึ่งซูซูกิ สามารถเล่นได้อย่างมีชีวิตจิตใจอย่างนักดนตรีของเยอรมัน  หลังจากจบการแสดงมีผู้หญิงสูงอายุท่านหนึ่งรู้สึกสงสัยมากว่า  เหตุใดซูซูกิจึงเล่นไวโอลินได้ดียอดเยี่ยมประดุจคนเยอรมันเล่น   จึงเข้าไปถาม ดร. ไอสไตน์ ไอสไตน์ตอบอย่างสั้น ๆ ว่า “ มนุษย์เหมือนกันหมด ”
               นับเป็นช่วงเวลาของชีวิตที่ดีมากของซูซูกิที่ได้อยู่กับไอสไตน์    เพราะนอกจากไอสไตน์จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์แล้ว  เขายังเป็นผู้มีอุปนิสัยรักการดนตรีด้วย  และสามารถบรรเลงไวโอลินได้อย่างดี  ซึ่งทำให้ซูซูกิเกิดความคิดว่า   จะทำอย่างไรให้เด็กญี่ปุ่นเก่งทางวิทยาศาสตร์อย่างไอสไตน์  และมีความรู้สึกทางดนตรีเช่นเดียวกับเด็กเยอรมัน 
               หลังจากซูซูกิได้เดินทางกลับมาญี่ปุ่น  มีสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษามาขอให้เขาช่วยสอน  ซูซูกิได้สอนในระดับอุดมศึกษาอยู่ระยะหนึ่ง  พบว่านักศึกษาที่เขาสอนอยู่ไม่สามารถที่จะพัฒนาให้มีฝีมือดีขึ้นได้มาก  เนื่องจากในการเรียนการสอนดนตรีของญี่ปุ่นในสมัยนั้นยังเป็นระบบ
                                                                                                                                    2
 
โบราณที่ผู้เรียนไม่ได้พัฒนาความสามารถตั้งแต่ยังเด็ก  เขาจึงเปรียบเทียบนักศึกษาในอุดมศึกษาว่า  “ เป็นเหมือนซากปรักหักพังทางการศึกษา ”  จะสร้างอะไรเพิ่มเติมก็ไม่ได้  จะทุบทิ้งก็เสียเวลา  ดังนั้นเขาจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการศึกษาดนตรีในเด็กเล็ก  
              
               ในบทความคู่มือการสอนไวโอลินแก่เด็กเล็กตามวิธีของซูซูกิ (เอื้อ  มณีรัตน์,2530 : 57)  ได้กล่าวถึงการสังเกตเห็นของ ดร. ซูซูกิไว้ว่า  เด็กทุกชาติทุกภาษาในโลกนี้สามารถพูดภาษาของตนได้โดยไม่ลำบากยากเย็น  แม้ว่าไวยากรณ์ของภาษนั้นจะซับซ้อนเพียงไรก็ตาม  ถ้าไม่เป็นคนที่มีความพิการทางสมอง  หรือร่างกายในส่วนที่เกี่ยวกับการพูด  การฟังแล้ว  เด็กจะเรียนรู้และใช้ภาษาได้เป็นอย่างดีทุกคน  ซูซูกิจึงนำหลักการเรียนรู้ภาษาของเด็กมาใช้ในการสอนไวโอลิน  และเรียกวิธีการการสอนนี้ว่า  “ วิธีพูดตามแม่ ”  ( Mother- tongue Method ) 
               ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนไวโอลินมีผลก็คือ  สิ่งแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่   การเลียนแบบทำตามพ่อแม่   ความชื่นชมของพ่อแม่ที่มีต่อเด็ก  การฝึกฝนทำซ้ำ ๆ   บ่อย ๆ   การถ่ายทอดความรู้ของครูผู้สอนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน   เสนอในสิ่งที่เด็กทำได้
 
               จากบทความข้างต้น  ทำให้เราทราบว่ามีกระบวนการขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญที่สอดคล้องกับแนวความคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาของ  บันดูรา ( Albert  Bandura ) เขาได้มีความเห็นว่า  ทั้งสิ่งแวดล้อม  และตัวผู้เรียนมีความสำคัญเท่า ๆ กัน  คนเราจะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ ( Interact )  การเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน  พฤติกรรมของคนเรา  ส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต  ( Observational  Learning )  หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ       (Modeling)
 ( สุรางค์  โค้วตระกูล , 2541:236 )
 
               ซูซูกิ  ได้ใช้วิธีการสอนแบบการเลียนแบบมากที่สุด  โดยเขาได้ตั้งกฏขึ้นมากฏหนึ่งชื่อว่า  “ กฏแห่งความสามารถ ”  ( The  Law  of  Ability ) ซูซูเชื่อว่า  พรสวรรค์ทางด้านดนตรีไม่ได้เกิดมากับเด็กคนใดคนหนึ่ง  แต่พรสวรรค์หรือความสามารถขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู  ซูซูกิกล่าวว่า  เด็กที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่  20 แต่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมนุษย์สมัยหินท่ามกลางสิ่งแวดล้อมของยุคหิน  ก็จะพัฒนาความสามารถได้สูงสุดเท่ากับยุคหินเท่านั้น  ความสามารถของเด็กจะเจริญถึงขีดสุดได้เท่าที่มนุษย์จะพึงกระทำได้ตามยุคสมัยของตน  ถ้าตอบในเชิงที่ปฏิบัติได้  ก็จะต้องว่าเด็กจะสามารถพัฒนาความสามารถทุกด้านให้ถึงระดับสูงสุดเท่าที่แกสามารถพูดภาษาของแกได้นั่นเอง  และระดับนี้ก็นับว่าสูงมากทีเดียว
                                                                                                                                    3
 
               ซูซูกิ  ได้กล่าวเปรียบเทียบกฏแห่งความสามารถไว้ตอนหนึ่งว่า  ตั้งแต่โบราณมาแล้ว  ชาวญี่ปุ่นมีวิธีฝึกนกไนติงเกลให้ร้องเสียงเพราะ ๆ โดยจับลูกนกไนติงเกลจากป่ามาเลี้ยงไว้ใกล้ ๆ นกบ้านที่มีเสียงไพเราะ   นกป่าจากภูเขาได้ยินเสียงร้องอันไพเราะทุกวัน  ไม่ช้าจะต้องร้องได้ไพเราะตามไปด้วย  แต่ถ้าไปจับนกมาเมื่อโตแล้ว  มันก็จะร้องเหมือนเสียงแม่ของมัน  คนจะฝึกอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้มันร้องไพเราะได้เลย 
 
               ในปาฐกถาเรื่อง  The  Mother-tongue method  of  Education  ของ ดร.ซูซูกิ   ได้กล่าวถึงวิธีการสอนของเขาไว้ว่า   เขารับเด็กที่มาเรียนกับเขาทุกคนโดยไม่มีการสอบ  และไม่เคยคะยั้นคะยอให้นักเรียนเขาเป็นนักดนตรีอาชีพ   แต่ก็มีลูกศิษย์ของเขาหลาย ๆ คนที่ประสบความสำเร็จในฐานะนักเดี่ยวไวโอลินของโลก  และคอนเสิร์ตมาสเตอร์หลาย ๆ วง  สมัยก่อนชาวตะวันตกมักจะคิดว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชาติที่อ่อนด้านดนตรีที่สุด ( Most Unmusical ) นั่นเป็นเพราะชาวญี่ปุ่นไม่ประสีประสาในเรื่องดนตรีตะวันตกเพราะเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน  แต่สิ่งที่คนมักจะนึกไม่ถึงก็คือ  เด็กญี่ปุ่นเรียนภาษาของตนได้ตั้งนานก่อนจะเรียนหนังสือ  ความจริงในเรื่องนี้ทำให้เขาไขปริศนาของการศึกษาด้วยวิธี  Mother- tongue ได้  และเขายังให้ความเห็นว่า  วิธีการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกวิชา
 
               นอกเหนือจากวิธีการสอนแบบ Mother-tougue  แล้ว  ซูซูกิยังให้ความสำคัญกับเรื่อง  การสร้างแรงจูงใจในการเรียน (Shinichi Suzuki ,1983: 95) ซูซูกิจะสร้างอุบายให้เด็กเกิดความอยากที่จะเล่นไวโอลินด้วยตนเอง  โดยวิธีการสอนแม่ของเด็กให้เล่นเพลง 1 เพลงก่อน  ส่วนเด็กให้ฟังเทปเพลงที่ให้ไป  ถึงแม้ว่าผู้ปกครองจะอยากให้เด็กไวโอลินมาก  แต่เด็กอายุ  3-4 ขวบจะไม่ยอมเล่น  จึงต้องหาอุบายที่จะให้เด็กออกปากเองว่า “ หนูขอเล่นด้วยคน ”  การที่เด็กได้เห็นเด็กอื่น ๆ   กำลังหัดไวโอลินอยู่กับแม่ของตนในห้องเรียนดนตรี  ในไม่ช้าเด็กก็อยากเล่นร่วมวงกับคนอื่น ๆ ด้วย  เมื่อเด็กเกิดความอยากที่จะเล่นขึ้นมา  ก็เป็นเรื่องไม่ยากในการสอนไวโอลิน
               ในเรื่องของแรงจูงใจนี้เอง  ที่เป็นเบื้องต้นในการเรียนการสอนที่ซูซูกิได้วางแผนไว้ในตำราของเขา  ( Suzuki  Method )  ซึ่งเขาได้ออกแบบการสอนทีละขั้นตอนให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติได้  โดยไม่รู้สึกว่ายากเย็นอะไร  ซึ่งจะแตกต่างกับตำราไวโอลินทั่ว ๆ ไปอย่างชัดเจน  อาทิ  ในเรื่องของการฝึกสีสายเปล่า  ซูซูกิ  จะตั้งรูปแบบ ( Pattern ) ของการสีเป็นกระสวนจังหวะ  และทำให้จังหวะนั้นเกิดความหลากหลายออกไป  ในขณะที่ตำราแบบอื่น ๆ จะเน้นให้ผู้เรียนหัดสีสายเปล่าให้ยาว ๆ นาน ๆ  และน่าเบื่อสำหรับเด็ก  แต่ตำราซูซูกิได้ออกแบบเป็นตำรากึ่งบทเพลง   แม้เพียงบทแรกที่เด็กเล่น เด็กจะเกิดความภูมิใจที่เขาสามารถเล่นออกมาได้เป็นเพลง ( Twinkle, Twinkle, Little Star )
                                                                                                                                    4
                               
               แนวคิดของซูซูกิเรื่องแรงจูงใจนี้   สอดคล้องกับแรงจูงใจภายใน ( Intrinsic  Motivation ) ซึ่ง  เดซิ (Deci , 1971-1979) เดซิ และไรแอน ( Deci & Ryan , 1980 ) เดอ ชาร์ม ( De  Charm , 1968) ได้มีความเห็นตรงกันว่า  พฤติกรรมที่เนื่องมาจากแรงจูงใจภายในจะเกิดขึ้นเองโดยไม่จำเป็นต้องมีรางวัล  เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความสนใจของผู้แสดงพฤติกรรม  ซึ่งตรงกันข้ามกับพฤติกรรมโอเปอร์แรนท์ของสกินเนอร์  นักจิตวิทยาที่ศึกษาแรงจูงใจภายในมักจะใช้รายงานของผู้แสดงพฤติกรรม ( Self  Report ) เองว่า  ทำไมจึงแสดงพฤติกรรม  ดังนั้น  การรายงานของผู้แสดงพฤติกรรมจึงเป็นสิ่งที่วัดแรงจูงใจภายใน  ถ้างานเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากผู้ที่ทำก็จะ enjoy หรือยิ่งทำยิ่งมัน เดซิ ( 1975 ) ทำการทดลองพบว่า  ผู้ที่ทำงานด้วยการมีแรงจูงใจภายในก็จะพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ (To  conquer  optimal  challenger ) 
               จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่ซูซูกิได้วางแผนให้เด็กผู้เรียน   เกิดแรงจูงใจที่มาจากภายในมากกว่าแรงจูงใจภายนอก  เพราะเด็กที่เรียนในระบบของซูซูกิต้องการที่จะเล่นไวโอลินให้ได้เหมือนเพื่อน ๆ ในห้องเรียน   ไม่ได้ต้องการรางวัล  สิ่งของแต่อย่างใด  และเด็กต้องการเล่นเองมากกว่าต้องการให้ครูชมเชยด้วยซ้ำไป
 
               แต่ใช่ว่าการเรียนการสอนของซูซูกิจะไม่มีข้อเสียเลย   จากการสังเกตของข้าพเจ้าในการเข้าร่วมอบรมการสอนของซูซูกิ  ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป  มหาวิทยาลัยมหิดล  เมื่อปีพ.ศ. 2540 และ 2542  ซึ่ง  อาจารย์ยามาดะ  ซูซูกิ ( Yamada  Suzuki ) ซึ่งเป็นหลานสาวของซูซูกิและปัจจุบันเป็นผู้บริหารของสถาบันซูซูกิ  ได้เดินทางมาให้การอบรมด้วยตนเอง   ข้าพเจ้าได้ตั้งข้อสังเกตว่า  ในระบบการเรียนการสอนของซูซูกิได้เน้นทางด้านการปฏิบัติที่เป็นธรรมชาติ   จนแม้เด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบบางคนก็สามารถเล่น  Violin  Concerto  in A minor  ของ  Vivaldi  ได้อย่างคล่องแคล่ว   มีความถูกต้องของเสียงและท่าทางประดุจนักดนตรีอาชีพ  แต่ครูของซูซูกิจะไม่ได้สอนเนื้อหาที่เกี่ยวกับบทเพลงนั้น ๆ เลย  เช่น  ประวัติของเพลง  หรือประวัติคีตกวี  ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น  เนื้อหาสาระทางวรรณคดีดนตรี   หรือแม้แต่ความคิดสร้างสรรค์ในเพลง  
               การบรรเลงเพลงของเด็กนักเรียนซูซูกิเกิดขึ้นจากการจดจำและเลียนแบบ   ดังนั้นต้นแบบที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก  ซึ่งซูซูกิเองก็ให้ความสำคัญกับต้นแบบนี้มาก  เช่น  การให้เด็กฟังเพลงที่เลือกสรรแล้วในทุกสถานที่   โดยใช้วิธีการเปิดเทปเพลง   และเด็กสามารถซึมซับเอาเสียงดนตรีที่ดีแล้วได้จริงและเกิดการเลียนแบบ  แต่ความซาบซึ้งในดนตรีนั้นได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่
 
               ณรุทธ์  สุทธจิตต์   ได้กล่าวถึงความซาบซึ้งทางดนตรีในบทความ  “ เพื่อความซาบซึ้งในดนตรี : ข้อคิดเห็นอีกทัศนะหนึ่งเกี่ยวกับสังคีตนิยม ” ( ณรุทธ์   สุทธจิตต์ , 2541: 167-171) ไว้ว่า  
                                                                                                                                    5
 
สำหรับ ผู้ฟังซึ่งจะเป็นผู้ที่จะเกิดความซาบซึ้งในดนตรีนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความ รู้ความเข้าใจในบทเพลงหรือดนตรีมากพอที่จะเกิดความซาบซึ้งได้  การศึกษาดนตรีจึงมีความจำเป็น  ด้วยเหตุนี้  ผู้ฟังอาจจะรู้สึกชอบและดื่มด่ำในรสของดนตรีได้แม้ไม่ได้ศึกษาโครงสร้างของดนตรี  แต่ ความรู้สึกชอบและดื่มด่ำในรสของดนตรีที่ผู้ฟังได้รับระดับนี้จะมีระดับด้อย กว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้นั้นได้ศึกษาโครงสร้างของดนตรีอย่าง ดีพอ  ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าความซาบซึ้งมีระดับ    ถ้าผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจและมีการตอบสนองของดนตรีอย่างลึกซึ้ง  ผู้นั้นย่อมเกิดความซาบซึ้งได้อย่างแท้จริง  ส่วนผู้ฟังที่มีความรู้ความเข้าใจพอสมควร  และมีการตอบสนองต่อดนตรีไม่ลึกซึ้งนัก  ผู้นั้นย่อมจะเกิดความซาบซึ้งได้ในระดับไม่ลึกซึ้งถึงแก่นอย่างแท้จริง   
 
               ในขณะที่โลกตะวันตกพยายามคิดค้นหากระบวนการสอนดนตรีในเด็กเล็ก  ด้วยวิธีการต่าง ๆ  อาทิ  การสร้างเครื่องดนตรีจำลองแล้วให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ   การให้เด็กได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับจังหวะต่าง ๆ  ตามแบบ “ มอนเตสซอรี ”  หรือแบบ “ ดาลโครซ ”  การร้องเพลงแบบโคดาย  หรือ  แม้แต่การให้เล่นเครื่องดนตรีแบบ “ คาลออร์ฟ ”  ซึ่งจะเห็นว่ามีแนวคิดตรงกันที่  การนำเสนอดนตรีสู่เด็กต้องมีความง่าย   ไม่เริ่มจากเครื่องดนตรีจริง ๆ  และให้อิสระเสรีในการฟังและการปฏิบัติดนตรีของเด็ก  แต่ซูซูกิกลับเป็นในตรงข้าม  ซูซูกิพยายามเน้นให้เด็กทำได้ในสิ่งที่ผู้ใหญ่ที่มีความสามารถทำได้   และตีกรอบแห่งการฝึกดนตรีให้กับเด็ก  มีการวางแผนการสอนด้วยตำราที่ไม่การเปลี่ยนแปลงขึ้นอีก  สิ่งเหล่านี้แม้ว่าจะมองโดยภาพรวมแล้วมีผลดี   แต่ในสังคมยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนี้เหมาะสมแล้วหรือ   
 
                        เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า  ดนตรีสามารถนำมาพัฒนาคุณภาพสติปัญญาของมนุษย์ได้ตั้งแต่เด็ก   ดังนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางดนตรีในการสอนเด็กก็คงจะยังต้องมีต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด  แนวความคิดและทฤษฎีของซูซูกิก็คงจะต้องถูกนำมาพูดถึงในทางที่เห็นด้วยและคัดค้านอีกต่าง ๆ นานา   แต่ครูอาจารย์ผู้สอน  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  ก็ยังคงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเด็กในความรับผิดชอบให้เขาได้เติบโตด้วยความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ต่อไป   และดนตรีที่ดีถึงแม้ว่าจะถูกนำมาสู่เด็กด้วยกระบวนการใด  คุณค่าทางดนตรีก็ยังคงเป็นสิ่งที่ดีงามต่อมวลมนุษยชาติ   ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม  
            ข้อความต่อไปนี้เป็นความรู้ที่ webmaster ได้อ่านจากหนังสือเรื่อง ยอดคนวิถีเซน เหมาะกันคนทุกเพศทุกวัยที่อยากจะเป็นจอมยุทธ...
         
"พุทธธรรมอันล้ำลึกและล้ำเลิศสุดประมาณนี้
ท่านได้แต่ใดมา ผู้ใดถ่ายทอดให้ท่าน
และตัวท่านรับการถ่ายทอดมาได้อย่างไร"
                                                     นิรนาม
 
ร่างของท่านเว่ยหลาง พบในเจดีย์ที่เมืองจีน
 
 
     วิถีแห่งเซน  อันมีลักษณะพิเศษจำเพาะอยู่ที่การนั่งฝึกสมาธิ ที่เขาเรียกกันว่าซะเซนและการมุ่งไขปริศนาธรรมหรือ โคอาน เพื่อมีประสบการณ์ทางวัญญานโดยตรงแบบฉับพลัน ในการรู้แจ้งที่เรียกกันว่า ซาโตริ นั้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนที่ปรมาจารย์เซนคนแรกจากอินเดียนำมาเผยแพร่ และก่อตั้งสำนักเซนแห่งแรกที่นั่น ศาสนาพุทธนิกายเซนถือกำเนิดในจีนก็จริงแต่กลับไปเจริญในจีน อันนี้ก็ดูแปลกอยู่

    เซน เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ฌาณ พระพุทธเจ้าของเรานี้เองที่เป็นผู้ให้กำเนิด และถ่ายถ่อดมาให้พระมหากัสปะ และถ่ายทอดกันเรื่อยมาจนถึงท่าน ปราจารย์ตักม้อ หรือ พระมหาโพธิธรรม ที่คอหนังจีนทุกคนรู้จักกันดี ท่านได้นำศาสนาพุทธนิกายเซนนี้มาเผยแพร่ที่ประเทศจีน เมื่อสมัยของพระจักรพรรดิอู๋ตี้ ประวัติของท่านตั้กม้อนี้ก็น่าสนใจมากมีสาระดีไว้วันหลังจะเอามาให้อ่าน ต่อกันเลย เมื่อท่านได้มาถึงเมืองจีน ท่านก็ได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิอู๋ตี้ และได้สั่งสอนธรรมให้แก่ท่านจรรกพรรดิ แต่พระจักพรรดิก็ไม่สามารถที่จะบรรลุธรรมอันยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้  หลังจากนั้นท่านก็มุ่งหน้าสู่วัดเส้าหลิน เขานั่งชัดสมาธิเข้าหากำแพงวัดเจริญสมาธิเป็นเวลา 9 ปี ท่านจึงรับศิษคนหนึ่งชื่ออะไรไม่รู้ ลืม... และท่านก็สั่งสอนและเผยแพร่ ศาสนานิกายเซนนี้และมีลูกศิษย์มากมาย
พระเซนญี่ปุ่น    
     
    คำสอนของศาสนาเซนต่อไปนี้เป็นคำสอนของปราจารย์ตั้กม้อที่ได้สอนศิษย์ของท่าน
" สภาวะไร้ใจนี้ มันดำรงอยู่ของมันมายาวนาน
จานหาจุดเรื่มต้นไม่ได้ มันไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลง ใดๆ เลย
มันไม่เกิด ไม่ดับ ไม่เพิ่ม ไม่ลด ไม่ใช่ทั้งดีหรือเลว
ไม่ใช่ทั้งสะอาดหรือสกปรก ไม่เป็นทั้งอดีตหรืออนาต
ไม่เป็นทั้งจริงหรือปลอม ไม่เป็นทั้งหญิงหรือชาย
ไม่ปรากฏเป็นนักบวช หรือ ฆราวาส
ไม่ปรากฏเป็นอริยะชน หรือ โลกียชน
และไม่ปรากฏเป็นพุทธะหรือสรรพสัตว์
มันไม่เคยลำบากในการบรรลุ
และไม่ทุกข์ในปัจจัยอันเกิดจากเหตุผล
มันไม่มีรูปลักษณ์ใดๆ เลย จับก็ไม่ได้ ทิ้งก็ไม่ได้"
       ท่านตั๊กม้อ    
พระพุทธศาสนาในประเทศตะวันตก

 

 

 

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

   Main webboard   »   หน้าปฏิบัติ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 128,269 Today: 3 PageView/Month: 277

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...